กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7120
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.authorพิสิฐ ชนะการณ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:33:27Z
dc.date.available2023-05-12T03:33:27Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7120
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องแรงจูงใจการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับและเปรียบเทียบแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 6 จำแนกตามเพศ กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และอายุ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน บางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำนวน 63 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified random sampling) เป็นการสุ่มตัวอย่างโดยแยกประชากรออกเป็นกลุ่มประชากรย่อย ๆ หรือแบ่งเป็นชั้นภูมิก่อน โดยหน่วยประชากรในแต่ละชั้นภูมิจะมีลักษณะเหมือนกัน (Homogenious) แล้วสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนของขนาดกลุ่มตัวอย่างและกลุ่มประชากรเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียน บางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 เป็นแบบสอบถามประมานค่า 5 ระดับจำนวน 28 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.76-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับที่ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง จึงนำมาเปรียบเทียบเป็นรายคู่ โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) นำเสนอผลการศึกษาตามลำดับ ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 ผลการศึกษา พบว่า แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 โดยรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน เฉลี่ยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับ ได้แก่ ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ความมั่นคงในการทำงาน และลักษณะของงานที่ปฏิบัติ 2. เปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์ สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จำแนกตามอายุ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นในด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านความก้าวหน้าและโอกาสเติบโตในการปฏิบัติงาน ด้านนโยบายการบริหาร และความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectบุคลากรโรงเรียน
dc.subjectการจูงใจในการทำงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนบางแก้วประชาสรรค์สมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6
dc.title.alternativePersonnel-motivtion for job performnce of personel working in Bngkewprchsn, Smutprkn Province under the Secondry Eduction Office Are 6
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis is the study of Motivation for job performance in Bangkeawprachasan, Samutprakan Province under the Secondary Education Office Area 6. The purposes of this research was to study and compare motivation for job performance of personel working in Bangkeawprachasan, Samutprakan Province under the Secondary Education Office Area 6. The study classified participants based on their classification by gender, personnel and age. The samples consisted of 63 personnel working in Bangkeawprachasan school, Samutprakan Province under the Secondary Education Office Area 6. Stratified random sampling was used in this study. Also, simple random sampling was used. The data collection instrument in this study was a five-rating-scale questionnaire of Motivation for job performance of people working in Bangkeawprachasan, Samutprakan Province under the Secondary Education Office Area 6 (28 questions). The item discrimination power was from 0.76-1.00 and the coefficient of reliability was 0.86. The statistics used to analyze the data were Mean, Standard Deviation, the dependent t-test and One-way ANOVA, and Scheff’s approach. The research found 1. Motivation Level for job performance of personel working in Bangkeawprachasan, Samutprakan Province under the Secondary Education Office Area 6, in overall and individual aspect, were at a high level. The top 3 areas were 1) compensation and welfare, 2) stability in work, and 3) nature of work 2. Comparison of Motivation for job performance of personel working in Bangkeawprachasan, Samutprakan Province under the Secondary Education Office Area 6 classification as classified by age, overall and individual aspect, reported no statistically significance difference at .05 level, except motivation concerning the recognition of progress and growth opportunities in the workplace. Administration policy and relationships with colleagues, which showed statistically significant difference at .05 level.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf817.45 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น