กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7088
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษานักศึกษาวิชาทหารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of qulity ssurnce systems for militry students territoril defend commnd with prticiptory ction reserch
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์เทพ จิระโร
มนตรี แย้มกสิกร
มยุรี ฐานมั่น
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาวิชาทหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
การมีส่วนร่วมทางการศึกษา
ประกันคุณภาพการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการประกันคุณภาพการศึกษานักศึกษาวิชาทหารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เพื่อพัฒนามาตรฐานและตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษานักศึกษาวิชาทหารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน เพื่อพัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษานักศึกษา วิชาทหารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน และเพื่อทดลองใช้และประเมินระบบประกันคุณภาพการศึกษานักศึกษาวิชาทหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บังคับหน่วยฝึกนักศึกษา วิชาทหาร ครูฝึกนักศึกษาวิชาทหาร และผู้กำกับนักศึกษาวิชาทหารจากศูนย์การกำลังสำรอง กองทัพภาค 1 กองทัพภาค 2 กองทัพภาค 3 และกองทัพภาค 4 ในปีการศึกษา 2559 จำนวน กลุ่มตัวอย่าง 384 คน ตรวจสอบคุณภาพระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 17 ท่าน ด้วยเทคนิคเดลฟายประยุกต์สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า ระบบการประกันคุณภาพการศึกษานักศึกษาวิชาทหารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ที่สร้างและพัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 16 ตัวบ่งชี้ และ 88 เกณฑ์การพิจารณาค่าความเหมาะสมของความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อระบบและกลไก การประกันคุณภาพ องค์ประกอบตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณา ทั้งหมด 117 ข้อ อยู่ในระดับสูงมาก 6 ข้อ ระดับสูง 110 ข้อ และมีค่าความสอดคล้องทุกข้อ ค่าความคิดเห็นของผู้ประเมินเกี่ยวกับแนวความคิดหลัก ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ทั้งหมด 7 ข้อ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ค่าความถูกต้องและความเหมาะสมของความคิดเห็นของผู้ประเมินเกี่ยวกับองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณา รวม 110 ข้อ อยู่ในระดับมาก 2 ข้อ ระดับมากที่สุด 108 ข้อ ค่าประโยชน์และความเป็นไปได้ของความคิดของผู้ประเมินเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การพิจารณา รวม 110 ข้อ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7088
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf5.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น