กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7086
ชื่อเรื่อง: โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The cusl model of rt’s cretive thinking of Mttyomsueks Three Students in Ryong
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
ไพรัตน์ วงษ์นาม
ฉัตรติยา ลังการัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ศิลปะ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ความคิดสร้างสรรค์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ทางศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดระยอง (2) วิเคราะห์องค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์ ทางศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดระยอง และ (3) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 500 คน ซึ่งได้มา โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ และแบบสอบถามการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ ทางศิลปะ วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ด้วยโปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ ประกอบด้วย ปัจจัยคุณลักษณะภายในและ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุดของปัจจัยคุณลักษณะภายใน คือ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.80 ส่วนตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด ของปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก คือ การสอนของครู มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.83 2. ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ ประกอบด้วย ด้านความคิดคล่อง ด้านความคิดริเริ่ม ด้านความคิดยืดหยุ่น และด้านความคิดละเอียดลออ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.26 ถึง 0.98 ด้านที่มีน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด คือ ด้านความคิดคล่อง 3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ปรับเป็นโมเดลประหยัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการทดสอบ เท่ากับ 35.50 ค่า P-value เท่ากับ 0.49 ที่องศาอิสระ เท่ากับ 36 ค่า /df เท่ากับ 0.99 ค่า GFI เท่ากับ 0.99 ค่า AGFI เท่ากับ 0.98 ค่า CFI เท่ากับ 1.00 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.00 ปัจจัยที่อิทธิพลทางตรงต่อ ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ คือ ปัจจัยคุณลักษณะภายใน และปัจจัยที่อิทธิพลทางอ้อมต่อความคิดสร้างสรรค์ ทางศิลปะ คือ ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ผ่านปัจจัยคุณลักษณะภายใน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7086
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น