กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7063
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานหน่วยการเรียนรู้สารชีวโมเลกุลโดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Curriculum development of bsic science course on biomolecules lerning unit through stem eduction pproch pplied for mtthyomsuks iv students in schools under bngkok metropolitn
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มณเทียร ชมดอกไม้
ปริญญา ทองสอน
อัครเดช จำนงค์ธรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศีกษา) -- หลักสูตร
ระบบการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
การวางแผนหลักสูตร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการใช้หลักสูตรรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้สารชีวโมเลกุล โดยประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การสร้างหลักสูตร ขั้นที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร และขั้นที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนาหลวง สำนักงานเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 42 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์ชิ้นงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษา และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test (Dependent sample) ผลการวิจัย พบว่า 1. ได้หลักสูตรรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้สารชีวโมเลกุล โดยประยุกต์ใช้ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มี 8 องค์ประกอบ ได้แก่ สภาพปัญหาและความจำเป็น หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างเนื้อหาและเวลาเรียน ตัวชี้วัด กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสม 2. ผลการทดลองใช้หลักสูตร ปรากฏว่า 2.1 ค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.2 ค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.3 ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการสร้างสรรค์ชิ้นงานตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2.4 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน หน่วยการเรียนรู้สารชีวโมเลกุล ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการจัดการความรู้อยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7063
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น