กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7031
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุเมธ งามกนก
dc.contributor.authorอารีย์ ไกรเทพ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:29:35Z
dc.date.available2023-05-12T03:29:35Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7031
dc.descriptionงานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษา และเปรียบเทียบพฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายท่าแซะ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำแนกตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์การสอนของครู โดยสอบถามความคิดเห็นจากครูผู้สอนโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย ท่าแซะ 1 ปีการศึกษา 2559 ซึ่งได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-609) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 155 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบ มีจำนวน 2 ข้อ และแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายท่าแซะ 1 มีข้อคำถาม จำนวน 55 ข้อ ลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ตามแนวคิดของลิเคิร์ท (Likert, 1967, pp. 16-24) มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .21-.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability)ได้ค่าความเชื่อมั่น.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบรายคู่โดยวิธีของ (Scheffe’s method) เมื่อพบความแตกต่างรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายท่าแซะ 1 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความร่วมมือและความขัดแย้ง ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม และ ด้านการทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายท่าแซะ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการเปิดเผยและเผชิญหน้า ด้านภาวะผู้นำที่เหมาะสม และด้านการทบทวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบการเปรียบเทียบพฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย ท่าแซะ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์การสอนของครู โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านการสนับสนุนและการไว้วางใจต่อกัน และด้านการพัฒนาตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน -- ทีมงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.titleพฤติกรรมการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายท่าแซะ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
dc.title.alternativeThe study of tem building behvior of Th Se School Group 1 under Chumphon Primry Eductionl Service Are 1
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to study and compare team building behavior of school Administrators of Tha Sae school group 1 under Chumphon Primary Educational Service Area 1 as Classified by school size and teachers’ experience. The sample consisted of 155 teachers of Tha Sae school group 1 during the 2017 academic year. The member of sample was identified as suggested by Krejcie and Morgan (1970, pp. 607-609) sample size table. Proportion and Stratified random sampling were applied by school size. The instrument used in collecting the data consisted of a checklist questionnaire. The questionnaire eso collected of general infomation and asked the samples to rate. The tea1 building behaviors of their administrators in five point scale questions. The reliability of this questionnaire was at 0.97. The statistics used in data analysis composed of Frequency, Percentage, mean, Standard Deviation, t-test and One-way ANOVA. The result showed that: 1. The research results revealed that their actual team building behaviors of school Administrators of Tha Sae school group 1 under Chumphon Primary Educational Service Area 1 was at a high level in overall and all aspects. The top 3 areas were 1) co-operation and conflict 2) appropriate leadership, and 3) reviewing work consistently. 2. The team building behaviors of school Administrators of Tha Sae school group 1 under Chumphon Primary Educational Service Area 1 in overall and all aspects were not different by school. The size of Except in the area of openness and confrontation, appropriate leadership and reviawing work consistently. This study also found that teachers who work in different school size had different opinions about team building behaviors of school Administrators of ha Sae school group 1 at .05 level of significance. 3. The team building behaviors of school Administrators of Tha Sae school group 1 under Chumphon Primary Educational Service Area 1 in overall and all aspects showed no different by teachers experience. Except support and trust, and individual development. The study reported that teachers who had different had different opinions regarding team building behaviors of school Administrators of Tha Sae school group 1 at .05 level of significance.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf848.51 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น