กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6942
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีการบำบัดความคิดพฤติกรรมต่อคติสมบูรณ์แบบของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of integrtive group counseling bsed on cognitive behvior therpy on perfectionism of gifted students in science nd mthemtics
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ระพินทร์ ฉายวิมล
สุรินทร์ สุทธิธาทิพย์
รักษ์ ห้วยเรไร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
การยึดติดความสมบูรณ์แบบ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ
จิตบำบัดแบบความคิดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับวัยรุ่น
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาเป็นการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พัฒนาแบบวัดคติสมบูรณ์แบบและศึกษา คติสมบูรณ์แบบ ระยะที่ 2 พัฒนาและศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีการบำบัดความคิดพฤติกรรมต่อคติสมบูรณ์แบบ การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันคติสมบูรณ์แบบ 2) เพื่อศึกษาคติสมบูรณ์แบบ 3) เพื่อพัฒนาการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีการบำบัดความคิดพฤติกรรมต่อคติสมบูรณ์แบบและ 4) เพื่อศึกษาผลของการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีการบำบัดความคิดพฤติกรรมที่มีต่อคติสมบูรณ์แบบของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 นักเรียนจากกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย และกลุ่มโรงเรียนในการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (วมว.) จำนวน 855 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage random sampling) ระยะที่ 2 คือ นักเรียนกลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 1 มีคะแนนจากแบบวัดคติสมบูรณ์แบบ ระดับเปอร์เซนไทล์ที่ 75 ขึ้นไป สัมภาษณ์ความสมัครใจ จำนวน 20 คน สุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม และทำการสุ่มเข้ากลุ่ม (Random assignment) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ 1) แบบวัดคติสมบูรณ์แบบซึ่งพัฒนาจากแบบวัด The measure of constructs underlying perfectionism (M-CUP) 2) การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีการบำบัดความคิดพฤติกรรมต่อคติสมบูรณ์แบบ แบบแผนการทดลองเป็นแบบทดสอบระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล (The randomized control-group pretest-posttest design) แผนการดำเนินการปรึกษากลุ่ม 16 ครั้ง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และ LISREL ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสาม และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA แบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีทดสอบแบบนิวแมนคูลส์ (Newman-Keuls test) ผลการวิจัย พบว่า 1. แบบวัดคติสมบูรณ์แบบ มีจำนวน 2 องค์ประกอบใหญ่ 9 องค์ประกอบย่อย คือ 1) องค์ประกอบความกลมกลืนแห่งตน มี 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ด้านการจัดระเบียบ ด้านความรู้สึก พึงพอใจ ด้านการใส่ใจในรายละเอียดและการตรวจสอบ ด้านการมุ่งคติสมบูรณ์แบบในผู้อื่น ด้านการมีมาตรฐานสูง และ 2) องค์ประกอบความขัดแย้งที่มีอยู่ในตน มี 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ด้านความคิดแบบสุดขั้วในการทำงานและกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการรับรู้ความกดดันจากผู้อื่น ความรู้สึก ไม่พึงพอใจ ด้านปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อเกิดความผิดพลาด ซึ่งมีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นหลักฐานแสดงว่าสามารถนำไปใช้วัดคติสมบูรณ์แบบได้ มีความเที่ยงตรง 2. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคติสมบูรณ์แบบองค์ประกอบความกลมกลืนแห่งตนอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 3.48) และองค์ประกอบความขัดแย้งที่มีอยู่ในตน อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.90) 3. การปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีการบำบัดความคิดพฤติกรรมต่อคติสมบูรณ์แบบ ได้ 5 ขั้นตอนใหญ่ 5 ขั้นดำเนินการย่อย คือ 1) ขั้นเตรียมการปรึกษา (The preparations stage) 2) ขั้นเริ่มต้นการปรึกษา (The initial stage) 3) ขั้นดำเนินการปรึกษา (The working stage) 3.1) ขั้นสำรวจทบทวนประสบการณ์ความคิด 3.2) ขั้นตระหนักรู้พินิจผลกระทบ 3.3) ขั้นฝึกครบตามเทคนิคการปรึกษา 3.4) ขั้นพัฒนาทางความคิดความรู้สึกแนวโน้มพฤติกรรมใหม่ 3.5) ขั้นใส่ใจฝึกเป็นการบ้านทางความคิด 4) ขั้นยุติการปรึกษา (The termination stage) 5) ขั้นประเมินผลการปรึกษา (The evaluation stage) 4. ผลของการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการทฤษฎีการบำบัดความคิดพฤติกรรมที่มีต่อคติสมบูรณ์แบบของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ พบว่า นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนคติสมบูรณ์แบบ ในระยะหลังทดลอง ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดระเบียบ ด้านการใส่ใจรายละเอียดและการตรวจสอบด้านการมุ่งคติสมบูรณ์แบบในผู้อื่น ด้านความคิดแบบสุดขั้วในงานและกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการรับรู้ความกดดันจากผู้อื่น ด้านความรู้สึกไม่พึงพอใจ และด้านปฏิกิริยาตอบสนองเมื่อเกิดความผิดพลาด ส่วนในระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนคติสมบูรณ์แบบ ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดระเบียบ ด้านการใส่ใจรายละเอียดและการตรวจสอบ ด้านการรับรู้ ความกดดันจากผู้อื่น และด้านความรู้สึกไม่พึงพอใจ ซึ่งเป็นลักษณะที่สัมพันธ์กับบุคลิกภาพการปรับตัว ที่สนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้ทางวิชาการของนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6942
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น