กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6940
ชื่อเรื่อง: การบูรณาการผลการศึกษาย้อนรอยประสบการณ์ผู้เรียนสู่การเรียนการสอนเพื่อสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาชิ้นงานของนักเรียน สาขาวิชาการออกแบบระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The integrtion experience of students on expost fcto study to develop cretive thinking for interior design student t voctionl certificte level
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมโภชน์ อเนกสุข
ดุสิต ขาวเหลือง
นิตยา กลมกลิ้ง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การศึกษาทางอาชีพ
การออกแบบ -- การศึกษาและการสอน
อาชีวศึกษา -- การศึกษาและการสอน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมเพื่อศึกษาย้อนรอยประสบการณ์ของผู้เรียนที่ใช้สร้าง ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาชิ้นงาน เปรียบเทียบผลการย้อนรอยประสบการณ์ของผู้เรียนตาม ระดับความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาชิ้นงาน และพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ ประสบการณ์ผู้เรียนเพื่อสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาชิ้นงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน สาขาวิชาการออกแบบ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 และครูผู้สอนสาขาวิชาการออกแบบ ใน สถานศึกษาสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การศึกษาเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลเป็น นักเรียน 27 คน ครูผู้สอน 9 คน การศึกษาเชิงปริมาณตัวอย่างเป็นนักเรียน 298 คน ครู 78 คน การ พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นครู 2 คน นักเรียน 20 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็น แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กําหนด สถิติ ที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ ความแปรปรวนพหุ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสบการณ์ของผู้เรียนที่ใช้สร้างความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาชิ้นงานของนักเรียน สาขาวิชาการออกแบบ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางครอบครัว ค่านิยมทางวิชาการ ค่านิยมทางเศรษฐกิจ ค่านิยมทางปกครอง ค่านิยมทางสังคม วัฒนธรรมทางครอบครัวและวัฒนธรรมทางสังคม ผลการใช้ ประสบการณ์ของนักเรียนต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์แสดงออกในรูปแบบของเส้นตรง รูปแบบ เรขาคณิต และประโยชน์ใช้สอยอเนกประสงค์ 2.ผลการเปรียบเทียบการย้อนรอยประสบการณ์ของผู้เรียนตามระดับความคิดสร้างสรรค้ ในการพัฒนาชิ้นงาน พบว่า ประสบการณ์ที่ใช้สร้างความคิดสร้างสรรค์ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ประสบการณ์ผู้เรียนเพื่อสร้างความคิด สร้างสรรค์ในการพัฒนาชิ้นงานมี 6 ชุดกิจกรรม คือ 1) การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม 2) พัฒนา พื้นฐานความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบชิ้นงาน 3) พัฒนาความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบ ชิ้นงาน 4) พัฒนาทักษะการออกแบบชิ้นงานสร้างสรรค์ 5) จิตอาสา และ 6) การประเมินผลรวม
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6940
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น