กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6935
ชื่อเรื่อง: ความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกษาต่างชาติ : กระบวนการสร้างมโนทัศน์พื้นฐานการวัดและการตรวจสอบความเที่ยงตรง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Culturl intelligence of foreign students: conceptuliztion, mesurement nd vlidtion
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
อนุภูมิ คำยัง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความฉลาดทางวัฒนธรรม
ความตระหนักทางวัฒนธรรม
นักศึกษาต่างชาติ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วัฒนธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1) เพื่อค้นหาจำนวนตัวบ่งชี้ และหน้าที่ ของแต่ละองค์ประกอบของความฉลาดทางวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาคุณภาพของตัวบ่งชี้ภายในโมเดลการวัดความฉลาดทางวัฒนธรรม ของนักศึกษาต่างชาติ 3) เพื่อทดสอบโมเดลการวัด ความฉลาดทางวัฒนธรรม จากลักษณะโมเดลการวัดเชิงสะท้อน โมเดลการวัดเชิงก่อรูป โมเดลผสมผสานแบบหลายสาเหตุหลายผล หรือมีลักษณะอื่น ๆ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรอคติ เชิงชาติพันธุ์ที่ส่งผลต่อความฉลาดทางวัฒนธรรม และอิทธิพลของตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัว ของนักศึกษาต่างชาติ 5) เพื่อศึกษาบทบาท ของความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค และความฉลาดทางวัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการปรับตัว ของนักศึกษาต่างชาติ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย คือ นักศึกษาต่างชาติ จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดประกอบไปด้วย 1) ข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา 2) แบบวัดตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรม อคติเชิงชาติพันธุ์ ความสามารถในการปรับตัว ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลด้วย การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความฉลาดทางวัฒนธรรมของนักศึกต่างชาติประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ 11 ตัวบ่งชี้ 2) โมเดลการวัดความฉลาดทางวัฒนธรรมสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ 3) โมเดลที่รวมโครงสร้างเป็นตัวแปรสาเหตุมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านอภิปัญญา และด้านปัญญาเป็นโมเดลก่อรูป ส่งผลต่อตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรม แล้วส่งผลต่อตัวแปรเชิงสะท้อน ประกอบไปด้วยตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรมด้านแรงจูงใจ และด้านพฤติกรรม 4) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความฉลาดทางวัฒนธรรมตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และความฉลาดทางวัฒนธรรมได้รับอิทธิพลทางตรงจากอคติเชิงชาติพันธุ์ในทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนของความฉลาดทางวัฒนธรรมได้ร้อยละ 17 และความสามารถในการปรับตัวได้รับอิทธิพลทางตรงจากความฉลาดทางวัฒนธรรมและได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากอคติเชิงชาติพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยความฉลาดทางวัฒนธรรมและอคติเชิงชาติพันธุ์ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการปรับตัวได้ร้อยละ 82.10 5) ความสามารถในการปรับตัวที่ได้รับอิทธิพลเชิงสาเหตุจากตัวแปรความสามารถใน การเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และปฏิสัมพันธ์ของตัวแปร ความฉลาดทางวัฒนธรรมกับตัวแปรความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคมีอิทธิพลต่อความสามารถในการปรับตัวของนักศึกษาต่างชาติอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และอิทธิพลของตัวแปรอคติเชิงชาติพันธุ์ และความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ส่งผลต่อความฉลาดทางวัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความฉลาดทางวัฒนธรรมได้ร้อยละ 40.70 และอิทธิพลของตัวแปรความฉลาดทางวัฒนธรรมส่งผลต่อความสามารถในการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากอคติเชิงชาติพันธุ์และความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการปรับตัวได้ร้อยละ 84.00
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6935
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น