กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6934
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาโปรแกรมประเมินอภิมานสำหรับรายงานการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาโดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of met evlution progrm for internl qulity ssurnce report of the office of voctionl eduction commission by prticiption ction reserch
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์เทพ จิระโร
จุฑามาศ แหนจอน
จิตราวรรณ บุตราช
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การประเมินอภิมาน
วิจัย -- การประเมิน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในและพัฒนาร่วมกับการหาประสิทธิผลของโปรแกรมประเมินอภิมานสำหรับรายงานการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 2) แบบสอบถามสภาพการดำเนินการประกันคุณภาพภายในฯ 3) แบบสอบถาม ความเหมาะสมของระบบการประเมินอภิมานการประเมินคุณภาพภายในฯ 4) แบบสอบถามระบบการพัฒนาโปรแกรม ฯ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาโปรแกรม ฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) และใช้สถิติคือ 1) ค่าเฉลี่ย ( X ) 2) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 3) มัธยฐาน (Mdn) และ 4) พิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) ได้ผลการวิจัย ดังนี้ 1. ความสำคัญในการดำเนินการการประกันคุณภาพภายในเรียงลำดับจากสูงสุดไปน้อยที่สุด ได้แก่ 1) ด้านการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน 2) ด้านการเตรียมการประกันคุณภาพภายใน 3) ด้านการนำผลการประเมินคุณภาพภายในไปใช้ประโยชน์และ 4) ด้านการรายงานการประกันคุณภาพภายใน 2. การพัฒนาโปรแกรมประเมินอภิมานสำหรับรายงานการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยใช้การวิจัยแบบมีส่วนร่วม แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) ระบบการประเมินคุณภาพภายใน 3) การจัดทำรายงานการประเมินตนเอง SAR (Self Assessment Report) และ 4) โปรแกรมประเมินอภิมานการประเมินคุณภาพภายใน 5) สำนักมาตรฐาน การอาชีวศึกษาและวิชาชีพ และ 6) สรุปผลการประเมิน มีความความเหมาะสม ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการออกแบบของโปรแกรม 2) ด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน 3) ด้านประสิทธิภาพของโปรแกรม และ 4) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้โปรแกรม อีกทั้งเป็นประโยชน์มีความถูกต้อง มีความเป็นไปได้ และมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด 3. โปรแกรมประเมินอภิมานสำหรับรายงานการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษามีประสิทธิผลโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากและความพึงพอใจโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะผู้เบริหารและหน่วยงานที่รับผิดชอบการประเมินคุณภาพภายใน ควรสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อการประเมินคุณภาพภายในแก่บุคลากร มีการนิเทศติดตามที่ต่อเนื่องและจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับบริบททางสังคมของแต่ละชุมชน อีกทั้งมีการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาภาคประชารัฐให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6934
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf17.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น