กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6925
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The enhncing ttitude towrds fruit grdening occuption for mttyomsuks 3 student in the Estern region of Thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทร์ชลี มาพุทธ
สมหมาย แจ่มกระจ่าง
สาลินี บูรณโกศล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนมัธยมศึกษา -- กิจกรรมการเรียนการสอน
นักเรียนมัธยมศึกษา -- ทัศนคติ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
การทำสวน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก 2) ส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและกิจกรรมส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 กิจกรรม เปรียบเทียบทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม สถิติที่ใช้ Mann-Witney U-test และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ ด้านสัมพันธภาพในอาชีพ ด้านความเป็นแบบอย่างในอาชีพและด้านความพึงพอใจในอาชีพ อยู่ในระดับมาก และสุดท้าย ด้านความมั่นคงในอาชีพ อยู่ในระดับปานกลาง 2. การส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดย 2.1 จัดกิจกรรมส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้ 4 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงในอาชีพ ด้านความพึงพอใจในอาชีพ ด้านความเป็นแบบอย่างในอาชีพ ลักษณะกิจกรรมมี 4 รูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนเป็นฐาน กิจกรรมครอบครัวเป็นฐาน กิจกรรมผู้ประกอบการเป็นฐาน และกิจกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน การเรียนรู้ทัศนคติประกอบด้วย การสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างความตระหนัก การสร้างการเห็นคุณค่าและประโยชน์ และการปฏิบัติ 2.2 การนำกิจกรรมไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ พบว่า หลังการนำกิจกรรมไปใช้นักเรียนกลุ่มทดลองมีทัศนคติสูงกว่านักเรียน กลุ่มควบคุม ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ด้านความมั่นคงในอาชีพ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีในเรื่อง สร้างรายได้ที่แน่นอนให้กับครอบครัวเป็นประจำทุกปี ประโยชน์ทางด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม และการมีที่ดินเป็นของตนเอง ทำให้ได้รับผลประโยชน์อย่างอื่น เช่น การท่องเที่ยว รีสอร์ท โฮมสเตย์ เป็นต้น ด้านความพึงพอใจในอาชีพ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีเรื่อง ผลตอบแทนรายได้สูง ความพอใจในวิถีชีวิต และความพอใจที่มีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีเครื่องจักรกลมาใช้ ช่วยทำให้ การประกอบอาชีพทำสวนผลไม้มีความสะดวกสบาย ด้านความเป็นแบบอย่างในอาชีพ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีเรื่องแบบอย่างการประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ที่มีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ แบบอย่างผู้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะแบบอย่างจากคนรุ่นใหม่ และแบบอย่างจากสื่อออนไลน์ ด้านสัมพันธภาพในอาชีพ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีเรื่อง การมีสัมพันธภาพกับ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำให้ได้รับความรู้ ความคิดมากขึ้นและเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการประกอบอาชีพทำสวนร่วมกับพ่อแม่ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6925
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น