กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6885
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม
dc.contributor.advisorภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.authorรุจิรา เข็มทิพย์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T03:21:51Z
dc.date.available2023-05-12T03:21:51Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6885
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน กับประสิทธิผลของโรงเรียน ศึกษาภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน และวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้ปฏิบัติงานสอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จำนวน 336 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษา พบว่า 1. ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน และประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับสูง และความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียน และวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. สมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จากตัวพยากรณ์ที่ดีที่สุด คือ ความเอื้ออาทร (X18) ความรู้สึกที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์การ (X14) ความซื่อสัตย์ (X19) การฟัง (X1) การตระหนักรู้ (X4) การตัดสินใจ (X13) การมองการณ์ไกล (X7) ความไว้วางใจ (X15) ความหลากหลายของบุคลากร (X20) การเยียวยารักษา (X3) การเป็นที่ยอมรับ (X17) และความมุ่งประสงค์ขององค์การ (X11) ซึ่งสามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน ได้ร้อยละ 92.60 และมีสมการพยากรณ์รูปคะแนนดิบ ดังนี้ Y^ = .196 + .55 (X18) + .19 (X14) +.20 (X19)-.22 (X1) + .47 (X4) + .26 (X13) -.20 (X7)-.33 (X15) +.34 (X20)-.11 (X3)-.11 (X17)-.08 (X11) สมการพยากรณ์รูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ Z^ = .55 (Z18) + .24 (Z14) + .20 (Z19)-.26 (Z1) + .53 (Z4) + .28 (Z13)-.23 (Z7)-.38 (Z15) + .37 (Z20) -.11 (Z3)-.11 (Z17)-.08 (Z11)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subjectผู้บริหารโรงเรียน
dc.subjectวัฒนธรรมองค์การ
dc.subjectภาวะผู้นำ
dc.titleภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารโรงเรียนและวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5
dc.title.alternativeSchool dministrtors’ servnt ledership nd school culture ffecting the effectiveness of school under the Secondry Eductionl Service Are Office 5
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the study were to: 1. Study school administrator servant leadership, school organization culture, school effectiveness, the relationship of school administrator servant leadership, school organization culture with school effectiveness, 2. Study the school administrator servant leadership and school organization culture that affect school effectiveness, 3. Create a predicting equation on school effectiveness. The samples were 366 secondary school teachers under the office of Educational Area 5 who were randomly selected. The instrument for data collection was 5 scale rating questionnaire. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation, Pearson correlation coefficient, stepwise factor analysis. The research findings were as follows: 1. The level of school administrator servant leadership, school organization culture, and school effectiveness under the Office of Educational Area 5 were at high level. 2. The relationship of school administrator servant leadership with school effectiveness was at the high level, and the relationship of school organization culture with school effectiveness was at the highest level with the statistical significance at .01 level 3. The school administrator servant leadership, school organization culture significantly affected school effectiveness with the statistical significance at .01 level 4. The best predictor in the equation predicting school effectiveness of school under the office of Educational Area 5 was consideration(X18), feeling of self-belonging to the organization (X14), honesty (X19), listening (X1), realization (X¬1), decision (X¬13), far sighting (X7), trust (X15) personnel variety (X20), nurturing (X3), self-accepted (X17), organization oriented (X11) they can predict the school effectiveness up to 92.06 percent. The raw score equation was as below Y^ = .196 + .55 (X18) + .19 (X14) +.20 (X19)-.22 (X1) + .47 (X4) + .26 (X13) -.20 (X7)-.33 (X15) +.34 (X20)-.11 (X3)-.11 (X17)-.08 (X11) The standard score equation was as follow Z^ = .55 (Z18) + .24 (Z14) + .20 (Z19)-.26 (Z1) + .53 (Z4) + .28 (Z13)-.23 (Z7)-.38 (Z15) + .37 (Z20) -.11 (Z3)-.11 (Z17)-.08 (Z11)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการบริหารการศึกษา
dc.degree.nameกศ.ม.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น