กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6772
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมเชิงการเมืองในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Multi-level fctors tht influence on politicl behviorsin secondry school under the jurisdiction of the office of the bsic eduction in the south of thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธร สุนทรายุทธ
ไพรัตน์ วงษ์นาม
วัชรินทร์ โตขาว
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การเมือง -- การศึกษา
การเมืองกับการศึกษา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงการเมืองและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมเชิงการเมืองในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู 51 โรงเรียน จำนวน 408 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าแบบ 6 ระดับ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS หาค่าสถิติพื้นฐานและโปรแกรม HLM 7 วิเคราะห์พหุระดับ ผลการวิจัย พบว่า 1. พฤติกรรมเชิงการเมืองในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคใต้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับค่อนข้างน้อย กลวิธีทางการเมืองที่ใช้กันมากที่สุด คือ การสร้างเครือข่าย เกมการเมืองที่ใช้กันมากที่สุด คือ เกมสร้างอาณาจักร 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมเชิงการเมืองในโรงเรียนสรุปได้ดังนี้ 2.1 ปัจจัยระดับบุคคล พบว่า บุคลิกแบบมีเล่ห์เหลี่ยม ส่งผลทางบวกต่อการเกิดพฤติกรรมเชิงการเมืองในโรงเรียนมากที่สุด รองลงมา คือ การหลบเลี่ยงงานหนัก ความชอบเสี่ยงความต้องการอำนาจ และความคาดหวังในความสำเสร็จ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคุณธรรมจริยธรรม ส่งผลทางลบต่อการเกิดพฤติกรรมเชิงการเมืองในโรงเรียนมากที่สุด รองลงมา คือ ความเชื่อในอำนาจของตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ปัจจัยระดับโรงเรียน พบว่า โครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้น ส่งผลทางบวกต่อการเกิดพฤติกรรมเชิงการเมืองในโรงเรียนมากที่สุด รองลงมา คือ ความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จริยธรรมของผู้บริหาร ส่งผลทางลบต่อสัมประสิทธิ์ การถดถอยของความต้องการอำนาจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจริยธรรมของผู้บริหาร ส่งผลทางบวก ต่อสัมประสิทธิ์การถดถอยของความชอบเสี่ยง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6772
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น