กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6732
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาให้สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่สอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Elementry techers development model for science subject instructionl design integrted nture of science
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุมาลี กาญจนชาตรี
จันทร์พร พรหมมาศ
วทัญญู วุฒิวรรณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ครูประถมศึกษา
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
การเรียน
วิทยาศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน (ประถมศึกษา)
วิทยานิพนธ์ ?aปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาให้สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่สอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และเพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้น โดยประเมินจากความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของครูประถมศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาให้สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่สอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ โดยมีแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวิชาชีพครู การเรียนรู้ผู้ใหญ่ และทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) และระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษาให้สามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ที่สอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูประถมศึกษา จำนวน 27 คน ระยะเวลาที่ใช้ 36 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการพัฒนาครู 2) แบบประเมินความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ และ 3) แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบการพัฒนาครูประถมศึกษา มีกระบวนการพัฒนาครูดังนี้ขั้นเตรียมความพร้อม เป็นปรับพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และการเขียนการจัดการเรียนรู้ ให้ครูทุกคนมีความรู้และความใจตรงกัน ขั้นวิเคราะห์ร่วมกัน ครูร่วมวิเคราะห์การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ว่ามีการสอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หรือไม่ ขั้นจัดการปรับปรุง ครูร่วมกันปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีการสอดแทรกธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ และขั้นสะท้อนความคิด ครูนำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแล้ว และวิธีการการทำงานร่วมกันของกลุ่มในการวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกันว่ามีกระบวนการทำงานอย่างไร 2) ครูประถมศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนน ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฯเท่ากับ 2.86 คะแนนสูงกว่าก่อนเข้ารับการพัฒนาตามรูปแบบการพัฒนาครูฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ครูประถมศึกษามีค่าเฉลี่ยคะแนนความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หลังเข้ารับการพัฒนาเท่ากับ 2.76 คะแนนสูงกว่าก่อนเข้ารับการพัฒนาตามรูปแบบการพัฒนาครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6732
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น