กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6638
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่โดยประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 และชาหญ้าดอกขาวของนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of smoking cesstion progrm by pplying iddhipd 4 nd venoni cinerel less. te on smoking cesstion mong students in the secondry eduction service re office 18, chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุวดี รอดจากภัย
นิภา มหารัชพงศ์
ทวีรัตน์ ทับทิมทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การสูบบุหรี่ -- ชลบุรี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ
บุหรี่ -- การป้องกันและควบคุม
หญ้าดอกขาว -- การใช้รักษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันอัตราการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและอายุของผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่มีแนวโน้มลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดผลเสียและผลกระทบต่อสุขภาพ การเรียน และสังคม จึงนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ควรเร่งดำเนินการแก้ไขการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่โดยประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 และชาหญ้าดอกขาวต่อการเลิกสูบบุหรี่ ของนักเรียนมธัยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ฯ ระหว่างกลุ่มทดลองต่อระดับการติดสารนิโคติน ความต้องการและความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่โดยกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่ายที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาที่สูบบุหรี่ จำนวน 58 คนจากโรงเรียนแสนสุข จำนวน 20 คน (กลุ่มควบคุม) โรงเรียนชลบุรี (สุขบท) จำนวน 19 คน (กลุ่มชาหญ้าดอกขาว) และโรงเรียน บ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) จำนวน 19 คน (กลุ่มโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ ฯ) เก็บข้อมูลก่อนและหลัง การทดลอง 4 สัปดาห์ โดยใช้แบบสอบถามประกอบ ด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรม การสูบบุหรี่แบบวัดระดับการติดนิโคติน ความต้องการเลิกสูบบุหรี่ความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ ข้อมูลที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทดลองด้วยสถิติ Paired t-test และความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ One-way ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p-value < 0.05 จากการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับธัยมศึกษาปีที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 43.10 และมีอายุเฉลี่ย 14.29 ± 0.86 ปีแต่ละกลุ่มมีลกัษณะการสูบบุหรี่โดยมีบุคคลในครอบครัวและเพื่อนที่สูบบุหรี่ไม่แตกต่างกัน ระดับการติดสารนิโคตินก่อนและหลังการทดลองภายในกลุ่มไม่เปลี่ยนแปลงอย่างไรกต็าม จำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวันลดลงอย่างมีนัยสำคัญภายหลังได้รับโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ฯ (2.47 ± 1.95 มวนต่อวัน, p-value < 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า ค่าเฉลี่ยของความต้องการและความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่ในกลุ่มโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ ฯ ที่มีค่าสูงที่สุด (4.36 ± 0.41 คะแนนและ 4.52 ± 0.43 คะแนน ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่ฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการทดลองชี้ให้เห็นว่า ผลของการใช้โปรแกรมการเลิกสูบบุหรี่โดยประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 และชาหญ้าดอกขาวสามารถลดจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบในกลุ่มนักเรียนที่สูบบุหรี่ได้ทั้งยังช่วยเพิ่มความต้องการและความตั้งใจในการเลิกสูบบุหรี่สูงขึ้นอีกด้วย ดังนั้น นัการประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ร่วมกับชาหญ้าดอกขาวจึงนำไปใช้และแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ในกลุ่มวัยเรียนต่อไปได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6638
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น