กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6593
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการบริหารความขัดแย้งในองค์การอุตสาหกรรมยานยนต์ภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Orgniztionl conflict mngement model within the utomotive industry in estern region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีทัต ตรีศิริโชติ
ภัทรี ฟรีสตัด
กรกช องอาจ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารความขัดแย้ง
อุตสาหกรรมยานยนต์ -- ไทย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
การบริหารองค์การ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาสาเหตุความขัดแย้งในองค์การอุตสาหกรรมยานยนต์ภาคตะวันออก 2) เพื่อศึกษาถึงรูปแบบการบริหารความขัดแย้งในองค์การอุตสาหกรรมยานยนต์ภาคตะวันออก3) เพื่อนำเสนอนโยบายการบริหารความขัดแย้งในองค์การอุตสาหกรรมยานยนต์ภาคตะวันออกโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาเอกสาร Documentary research จากการฟ้องร้องคดีแรงงานศาลแรงงานภาค 2 จังหวัดระยอง จำนวน 978 คดีความในปี พ.ศ. 2556-2557 ที่ฟ้องร้องกันและเป็นคดีที่ศาลได้ตัดสินเป็นที่สิ้นสุดลงแล้ว โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสำนวนคดีความนำมาเข้าสูตรของ Krejcie and Morgan (1970) ซึ่งได้ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 280 คดีสำนวนคดีความเพื่อนำมาสังเคราะห์ แล้วนำไปทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้พิพากษาและผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีความการฟ้องร้อง จำนวน 9 คน ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) หรือเฉพาะผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อสำนวนคดีการฟ้องร้อง ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาสาเหตุความขัดแย้งในองค์การอุตสาหกรรมยานยนต์ภาคตะวันออก มีลำดับตามความสำคัญ ประกอบด้วย 1) ด้านข้อมูลข่าวสารที่ต้องมีความชัดเจน 2) ด้านผลประโยชน์ที่สามารถยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย 3) ด้านโครงสร้างที่เหมาะสมบริหารจัดการภายในองค์การที่ดี 4) ด้านความสัมพันธ์มีความเคารพซึ่งกันและกัน 5) ด้านค่านิยม ทัศนคติที่ดีมีความไว้วางใจต่อกัน 2. รูปแบบการบริหารความขัดแย้งมี 7 วิธี ที่ผู้วิจัยได้ค้นพบโดยเรียงลำดับตามความเหมาะสมจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) การบริหารจัดการความขัดแย้งด้วยวิธีการประนีประนอม 2) ด้วยวิธีการไกล่เกลี่ย 3) ด้วยวิธีการปรองดอง 4) ด้วยวิธีร่วมมือ 5) ด้วยวิธีการหลีกเลี่ยง 6) ด้วยวิธีเผชิญหน้า และ 7) ด้วยวิธีการบังคับ 3. นโยบายการบริหารความขัดแย้งที่ดีจะต้องทำตามกฎหมายแรงงานที่ได้บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างลูกจ้างที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติต่อกันอย่างชัดเจน ลดการเอาเปรียบในการจ้างงานสร้างความเป็นธรรมให้กับทั้งสองฝ่ายซึ่งต้องตระหนักว่าลูกจ้างกับนายจ้าง มีผลประโยชน์ร่วมกัน และสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ดี ปราศจากการมีอคติและการทำลาย ซึ่งกันและกัน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6593
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น