กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6548
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวนพลังงานต่อความทนในการทำกิจกรรมและการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of wlking with prop nd energy conservtion techniques progrm on ctivity endurnce nd perceived self-efficcy relted to ctivities of dily living in chronic obstructive pulmonry disese ptients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เขมารดี มาสิงบุญ
นิภาวรรณ สามารถกิจ
นันทิยา พันธ์เกษม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง -- ผู้ป่วย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมักจะมีอาการหายใจลําบากเมื่อต้องออกแรงทําให้ความทนในการทํากิจกรรมลดลง การฟื้นฟูสมรรถภาพปอดและเทคนิคการสงวนพลังงานเป็นกลยุทธ์สําคัญที่จะช่วยลดอาการหายใจลําบากและเพิ่มความทนในการทํากิจกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อน และหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวน พลังงานต่อความทนในการทํากิจกรรม และการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทํากิจวัตรประจําวัน สุ่มตัวอย่าง อย่างง่ายจากผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เข้าพักรักษาตัวที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลปักธงชัย จังหวัด นครราชสีมา จํานวน 50 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 25 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาล ตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวนพลังงานตลอด ระยะ 7 สัปดาห์เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเดินด้วยไม้ค้ำเดินร่วมกับการใช้เทคนิคการสงวน พลังงานซึ่งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะในตนเอง ในการทํากิจวัตรประจําวันที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 และการทดสอบการเดินบนพื้นราบใน 6 นาที วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความทนในการทํากิจกรรม และการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทํากิจวัตรประจําวันมากกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.01) และมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p < .01) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความทนในการทำกิจกรรมและเพิ่มการรับรู้สมรรถนะตนเองในการทำกิจวัตรประจำวัน อันจะส่งผลให้ลดอาการหายใจลำบากและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุขตามสภาวะโรคที่เป็นอยู่ ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6548
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น