กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6505
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors predicting psychologicl well-being of the elderly with dibetes mellitus receiving cre t helth promoting hospitl
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงใจ วัฒนสินธุ์
ชนัดดา แนบเกษร
กัญญา นพเกตุ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ -- ผู้ป่วย -- การดูแล
เบาหวาน -- โรค -- ผู้สูงอายุ
เบาหวานในผู้สูงอายุ -- การดูแล
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานส่งผลต่อการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทํานายเพื่อศึกษาความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน และปัจจัยทํานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่มารับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จํานวน 100 ราย โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการ สุ่มแบบง่ายจับฉลาก แบบไม่คืนที่ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 6 ส่วน ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุ แบบสอบถามการเข้าถึงบริการสุขภาพ แบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามความว้าเหว่ และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน มีค่าเฉลี่ยความผาสุกทางใจโดยรวมเท่ากับ 56.74 (SD = 9.17) จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนพบว่า การสนับสนุนทางสังคม การเข้าถึง บริการสุขภาพ และการเห็นคุณค่าในตนเองร่วมกันทํานายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกทางใจได้ ร้อยละ 74.5 (R2 = .745, F = 93.546, p< .001)โดยตัวแปรที่สามารถทํานายความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็ นโรคเบาหวานได้สูงที่สุด คือ การสนับสนุนทางสังคม (β =.342, p < .001) รองลงมา คือ การเข้าถึง บริการสุขภาพ (β = .335, p < .001) และการเห็นคุณค่าในตนเอง (β = .302, p < .001)โดยสมการทํานาย ความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ Zความผาสุกทางใจ = .342 (Zการสนับสนุนทางสังคม) + .335 (Zการเข้าถึงบริการสุขภาพ)+ .302 (Zการเห็นคุณค่าในตนเอง) ผลการศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสําคัญและตระหนัก ถึงความผาสุกทางใจของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน โดยการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม การเข้าถึง บริการสุขภาพ และการเห็นคุณค่าในตนเองให้เพิ่มขึ้นอันจะเป็นการช่วยเพิ่มความผาสุกทางใจให้กับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6505
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น