กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6447
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษา กลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อมคราม บ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Approch to develop community enterprise: cse study of indigo-dyed cotton weving group of bn thm to in skonnkorn province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นุจรี ภาคาสัตย์
วรรณพงค์ ช่วยรักษา
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: ผ้า -- สกลนคร
วิสาหกิจชุมชน -- ไทย -- สกลนคร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
ผ้าย้อมคราม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการวิจัย “แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มสตรีทอผ้าฝ้าย ย้อมคราม บ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อมคราม บ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนครเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน กลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อมคราม บ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนครกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อมคราม บ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่ม สมาชิกกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อมคราม บ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ ผลการศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อมคราม บ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร พบว่า ด้านการบริหารจัดการกลุ่มและสมาชิก พบว่า การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐยังค่อนข้างจำกัดรวมถึงการพัฒนาการจัดการอื่น ๆ เช่น บรรจุภัณฑ์ การจัดจำหน่ายยังค่อนข้างจำกัด ด้านการตลาดและลูกค้า พบว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อตามยุคสมัยและการจัดจำหน่ายเช่น จากการออกบูท ยังมีค่อนข้างน้อย ด้านการผลิตและงานสนับสนุนการผลิต พบว่า การนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการดำเนินการผลิตยังไม่ชัดเจน การส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เข้มแข็ง และกว้างขวางในระดับประเทศเพื่อการขยายภาคการผลิตและการจัดจำหน่ายยังมีค่อนข้างน้อย และด้านการเงินและบัญชี พบว่า แหล่งเงินทุนในการสนับสนุนภาคการผลิตยังมีค่อนข้าง จำกัด รวมถึงการจัดทำบัญชีของสมาชิกยังค่อนข้างไม่ต่อเนื่อง ส่วนแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้ายย้อมคราม บ้านถ้ำเต่า จังหวัดสกลนคร พบว่า ควรมีการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือให้เข้มแข็งและกว้างขวางในระดับประเทศเพื่อการขยายภาคการผลิตและการจัดจำหน่ายที่ยังมีค่อนขางน้อยการวางแผนการผลิตที่ครบวงจร การพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบ การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6447
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น