กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6414
ชื่อเรื่อง: ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้านอาหาร U-Midnight : กรณีศึกษาผู้บริโภคกลุ่มนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่นในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fesibility study of investing in u-midnight resturnt khon ken university re
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุธาศิณี สุศิวะ
บุณยานุช ลีชา
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: ร้านอาหาร -- การตลาด
ร้านอาหาร -- ขอนแก่น
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่กลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี รวมทั้งสิ้น 400 คน ด้วยวิธีการสำรวจ (Survey research method) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางในการดำเนินการวิจัย โดยมีรายเอียดในเรื่อง การกำหนดกลุ่มตัวอย่างประชากร การสุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดทำและการวิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นผู้วิจัยได้นำข้อมูลไปทำการประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical package for the social sciences) ซึ่งสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Percentage) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และส่วนการทดสอบสมมติฐานนั้นใช้การพิสูจน์ความแตกต่างแบบ t-test และ One-way ANOVA และการหาความสัมพันธ์ด้วยค่า Pearson correlation ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข โดยรวมอยู่ระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านเงื่อนไขอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านเงื่อนไขความรู้ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม ด้านการมีภูมิกันในตัวที่ดีตามลำดับ ส่วนการประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พบว่า ด้านความสุขของประชนชนอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านเงินออม ด้านรายได้ที่เพิ่มขึ้น และด้านความเข้มแข็งของประชาชนตามลำดับ ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า เพศ, อายุ, ในระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไม่แตกต่างกัน ส่วนรายได้, อาชีพ ที่แตกต่างกัน มีการ ประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่แตกต่างกันและการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ด้านการมีภูมิกันในตัวที่ดี ด้านเงื่อนไข ความรู้ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม มีความสัมพันธ์ต่อการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในชีวิตประจำวันของประชาชนในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6414
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น