กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6413
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีสร้างภาวะความสุขในการทำงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting the hppy workplce of employee in electronics nd home pplinces industries in Lem chbng industril estte, chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทักษญา สง่าโยธิน
ลักษณา สุระมรรคา
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สำหรับผู้บริหาร
ความสุขในการทำงาน
พนักงาน -- การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบผสานวิธี (Mixed method) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สร้างภาวะความสุขในการทำงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังจังหวัดชลบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล บุคลิกภาพ เจตคติในการทำงาน ครอบครัวและองค์กรกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย พนักงาน จำนวน 400 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และพนักงาน จำนวน 9 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินงานวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามแบบปิดสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามเปิดสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอ้างอิง ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานส่วนใหญ่มีความสุขในการทำงานในระดับปานกลาง (2) ผลการวิเคราะห์บุคลิกภาพ ภาพรวมพบว่า บุคลิกภาพที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ด้านน้ำใจดีจิตวิญญาณดี ครอบครัวดีและใฝ่รู้ดีที่แตกต่างกันย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ยกเว้น ความสุขในด้านสุขภาพดีผ่อนคลายดีสังคมดี และด้านสุขภาพการเงินดีสอดคล้องกับงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ว่าพนักงานที่มีบุคลิกภาพแบบประนีประนอม ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นทำให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ง่ายเกิดความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานและร่วมกันทำงานเป็นทีม การมีน้ำใจที่ดีต่อกัน ส่งผลต่อความสุขในการทำงานด้านน้ำใจดีบุคลิกภาพแบบยึดมั่นในหลักการจะทำให้งานประสบความสำเร็จ มีการวางแผนงานและชีวิตรวมถึงมองเป้าหมายเป็นหลัก(3) ผลการวิเคราะห์เจตคติในการทำงาน ได้แก่ ด้านความรู้ ความรู้สึก และพฤติกรรม ภาพรวมพบว่า ความรู้สึกและพฤติกรรมมีผลต่อภาวะความสุขในการทำงาน โดยที่ตัวแปรทั้ง 3 ด้านร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสุขในการทำงานของพนักงานได้ร้อยละ 44.30 สอดคล้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพที่ว่าการให้อิสระในการกำหนดวิธีทำงานการวางแผนงานจะส่งเสริมศักยภาพของพนักงานให้กล้าคิดกล้าทำ มุ่งมั่น กระตือรือร้นและสนุกกับงานที่ได้รับมอบหมายการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ให้เกียรติกันทำให้พนักงานรักและผูกพันในองค์กร พร้อมทุ่มเทกำลัวกายกำลังใจในการทำงานให้แก่องค์กร นำไปสู่ผลการปฏิบัติงานที่ดีและสร้างความสุขในการทำงาน (4) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยครอบครัว ได้แก่ สัมพันธภาพในครอบครัวและการสนับสนุนจากครอบครัว พบว่า ตัวแปรทั้ง 2 ด้านร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสุขในการทำงานของพนักงานได้ร้อยละ 24.2 สอดคล้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพที่ว่า การดูแลเอาใจการให้คำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาในงานจะช่วยลดความเครียดจากการทำงาน คำชื่นชมจากคนในครอบครัวจะเป็นกำลังใจให้พนักงานทำงานให้ดียิ่งขึ้น การให้กำลังใจเมื่อผิดพลาดหรือล้ม เหลวในงานเป็นพลังในการแก้ไขปัญหา ฟันฝ่าต่ออุปสรรคการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัวเช่น การออกกำลังกาย ก็จะทำให้สุขภาพดีนอกจากนี้การปลูกฝังแนวคิดจากครอบครัวในการแบ่งปันส่งผลต่อสัมพันธภาพที่ดีในที่ทำงาน และการทำงานเป็นทีม (5) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยด้านองค์กร ได้แก่ นโยบายการบริหารงาน ลักษณะงาน สัมพันธภาพในที่ทำงาน ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน การได้รับการยอมรับนับถือขวัญกำลังใจในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ภาพรวมพบว่า ลักษณะงาน สัมพันธภาพในที่ทำงาน การได้รับการยอมรับนับถือและสภาพแวดล้อมในการทำงานมีผลต่อภาวะความสุขในการทำงานของพนักงาน โดยตัวแปรปัจจัยทั้ง 7 ด้านร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสุขในการทำงานของพนักงานได้ร้อยละ 66.8 สอดคล้องกับการวิจัยเชิงคุณภาพที่ว่า การมอบหมายงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถทำให้พนักงานเห็นคุณค่าของงานเกิดแรงจูงใจความหลากหลายของงานจะทำให้พนักงานใช้ทักษะในหลาย ๆ ด้าน ลดความเบื่อหน่ายในงาน เกิดความผูกพันต่องานสัมพันธภาพที่ดีในที่ทำงานจะส่งเสริมการทำงานเป็นทีม การประกาศยกย่องให้ผู้อื่นรับทราบหากพนักงานทำงานได้ดีเป็นกำลังใจในการทำงานเกิดภาคภูมิใจในงานที่ก่อให้เกิดความสุขในการทำงาน นอกจากนี้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยในการทำงาน มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน หากสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีก็อาจส่งผลต่ออัตราการลาออกของพนักงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6413
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น