กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6381
ชื่อเรื่อง: แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกประเภทเครื่องประดับเพื่อเพิ่มยอดขายของกลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ ตำบลคลองตะเกรา อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The guides of hndicrft products development mde of vetiver in ornment type to increse sle of rtificil flower from nturl mterils occuptionl community, khlong tkro sub-district, th tkip district, chchoengso province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทักษญา สง่าโยธิน
วรพล เลิศประเสริฐเวช
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: ผลิตภัณฑ์ -- การพัฒนา
หัตถกรรม -- ฉะเชิงเทรา
หญ้าแฝก -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกประเภทเครื่องประดับของกลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ ตําบลคลองตะเกรา อําเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา (2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของแบรนด์ตาม Model 3I ที่ส่งผลต่อผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกประเภทเครื่องประดับของกลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์ จากวัสดุธรรมชาติ ตําบลคลองตะเกรา อําเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา (3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกประเภทเครื่องประดับของกลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ ตําบลคลองตะเกรา อําเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทราโดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงกับผู้บริโภคในเขตอําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และผู้ผลิตกลุ่มอาชีพดอกไม้ประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติ ตําบลคลองตะเกรา อําเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบด้านผลิตภัณฑ์จะต้องพัฒนาตราสินค้าให้สื่อถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม โดยใช้โทนสีหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงธรรมชาติ ด้านบรรจุภัณฑ์ควรพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เป็นกล่องหรือถุงกระดาษที่สามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ภายในบรรจุภัณฑ์ได้และปกปิดผลิตภัณฑ์ได้มิดชิด ด้านการออกแบบผู้ผลิตควรที่จะศึกษาข้อมูลทั้งในด้านรูปแบบและลวดลายให้เพิ่มมากขึ้น โดยต้องออกแบบลวดลายให้มีความแปลกใหม่ทันสมัย ด้านสีของผลิตภัณฑ์ ควรที่จะย้อมสีใบหญ้าแฝก เพื่อเพิ่มความดึงดูดให้กับผู้บริโภค โดยสีที่ใช้ในการย้อมควรเป็นสีจากธรรมชาติ เช่น สีเหลืองจากขมิ้น ด้านความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตควรที่จะเพิ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องประดับให้มากขึ้น และมีความหลากหลายทางด้านรูปแบบและลวดลายรวมไปถึงขนาดของผลิตภัณฑ์ ในด้านการรับรู้แบรนด์ตาม Model 3I อัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ควรสื่อถึงความเป็นวัสดุจากธรรมชาติ ภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ควรที่จะแสดงถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม คุณค่าที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์คือการสร้างความภาคภูมิใจและสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่ผลิต ผู้ผลิตควรคํานึงถึงประโยชน์ในการใช้งานของ ผลิตภัณฑ์มากที่สุดเพราะผู้บริโภคคํานึงถึงประโยชน์ในการใช้งานของผลิตภัณฑ์ในการตัดสินใจซื้อโดยแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากใบหญ้าแฝกประเภทเครื่องประดับ ผู้ผลิตควรจะคงความเป็นเอกลักษณ์ของหญ้าแฝก ผสมผสานหญ้าแฝกกับวัสดุธรรมชาติ สีจากธรรมชาติ เพื่อความเป็นอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น ทั้งด้านรูปแบบลวดลาย และสีสัน ประกอบกบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความคงทนและเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์สามารถปกปิดผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6381
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น