กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6356
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการส่งเสริมแรงงานทักษะไทยสู่ สปป.ลาว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Models promoting Thi skilled lborers to work in Lo PDR
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศักดิ์ชาย จันทร์เรือง
ณพิชญา เฉิดโฉม
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: การบริหารแรงงาน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
แรงงาน -- ลาว
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษารูปแบบการจ้างงานแรงงานทักษะจากประเทศอาเซียนใน 4 วิชาชีพ คือ วิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ และนักบัญชีของ สปป.ลาว ศึกษาความต้องการและการสร้างกระบวนการเตรียมความพร้อม 4 วิชาชีพทักษะของไทยที่จะไปทำงาน ณ สปป.ลาว โดยกระบวนการวิจัยแบบประสานวิธี (Mixed methodology) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้เชี่ยวชาญจนกว่าข้อมูลจะอิ่มตัว และประเมินสมรรถนะของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรีของไทย 4 วิชาชีพ คือ วิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ และนักบัญชี สรุปผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการที่ได้ให้การสัมภาษณ์เห็นตรงกันว่าลาวนั้น มี ความขาดแคลนแรงงานจริง ซึ่งวิชาชีพที่ขาดแคลนมากที่สุด คือวิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ และนักบัญชีมีความต้องการแรงงานไทยไปทำงานนั้น ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าต้องการอย่างแน่นอน ไทยเป็นแรงงานที่ทาง สปป.ลาว ต้องการคุณสมบัติเบื้งอต้นที่ทาง สปป.ลาว พิจารณา ได้แก่ วุฒิการศึกษา ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ประวัติการฝึกอบรม ทักษะด้านภาษา ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการทำงานเป็นทีม และสัมภาษณ์ถึงคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานทักษะที่จะได้รับหากไปทำงานยัง สปป.ลาว สมรรถนะเฉพาะของ 4 แรงงาน ทักษะตำแหน่งวศิวกร ตำแหน่งสถาปนิก ตำแหน่งนักสำรวจ ตำแหน่งนักบัญชี การส่งเสริมแรงงานทักษะไทยทั้ง 4 สาขาวิชาชีพ ผู้วิจัยจึงได้ทำการสำรวจสมรรถนะของ นักศึกษาชั้นปีสุดท้ายในระดับอุดมศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมความพร้อมแรงงานทักษะในการออกสู่ตลาดแรงงานในอนาคต และสำรวจความคาดหวังคุณภาพชีวิตในการทำงานของทั้ง 4 วิชาชีพ เมื่อทดสอบสมมติฐานความคาดหวังคุณภาพชีวิตในการทำงานของทั้ง 4 วิชาชีพ มีความแตกต่างกัน ทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .05) และวิเคราะห์สมรรถนะที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของแต่ละสาขาวชิาชีพ เพื่อให้ทาง สปป.ลาว นั้นจัดสรรคุณภาพชีวิตในการทำงานตามที่สาขาวิชาชีพนั้นต้องการและทางประเทศไทยสามารถส่งเสริมแรงงานแต่ละสาขาวิชาชีพให้มีสมรรถนะที่สามารถไปทำงานยังองค์การที่มีคุณภาพชีวิตตามที่คาดหวังในอนาคต
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6356
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf4.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น