กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6347
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการสอนกีฬาบาสเกตบอลตามกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Developing guideline for deploying ctive lerning in Bsketbll course
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สันติพงษ์ ปลั่งสุวรรณ
นภพร ทัศนัยนา
พูลพงศ์ สุขสว่าง
นันทรัตน์ ศรีสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: การเรียนแบบมีส่วนร่วม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
บาสเกตบอล -- การศึกษาและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก สําหรับใช้ในการสอนกีฬาบาสเกตบอล เพื่อพัฒนาแนวทางการสอนกีฬาบาสเกตบอลตามกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก และเพื่อศึกษาผลการใช้แนวทางการพัฒนาการสอนกีฬาบาสเกตบอลตามกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุกที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนแสนสุข จังหวัดชลบุรี จํานวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 60 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนกีฬาบาสเกตบอลตามกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุกและเครื่องมือวัดผลประเมินในการวิจัย โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจํานวน 3 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (Dependent t-test และ Independent t-test) ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก มีคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการ ทักษะกีฬาบาสเกตบอล ด้านทักษะการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลหลังการเรียน สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียน ด้วยแผนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านทักษะการรับ-ส่ง บาสเกตบอล และทักษะการยิงประตูบาสเกตบอลมีคะแนนเฉลี่ยพัฒนาการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. กลุ่มทดลองที่เรียนด้วยกระบวนการสอนแบบการเรียนรู้เชิงรุก มีคะแนนเฉลี่ยรวมด้านสมรรถนะที่สําคัญของผู้เรียน (ทักษะศตวรรษที่ 21) หลังการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยแผนการสอนแบบปกติทุกรายการอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งหมด 12 ด้าน ได้แก่ 1) เกิดกระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 2) การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา 3) การสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดและความร่วมมือ 4) ความรู้และข้อมูลจากสื่อสารสนเทศ 5) ความรู้และข้อมูลที่มีประโยชน์จากสื่อ 6) ความรู้และข้อมูลจากเทคโนโลยี 7) ความสามารถในการปรับตัว 8) ความกล้าแสดงออกและเป็นตัวของตัวเอง 9) ความมีทักษะสังคม 10) ความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ 11) ความรับผิดชอบเชื่อถือได้ 12) ภาวะผู้นําและความรับผิดชอบโดยกลุ่มทดลองมีระดับความคิดเห็นรวมอยู่ในเกณฑ์มากที่สุดแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่อยู่ในเกณฑ์มาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6347
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น