กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6320
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงินของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors relting to sving nd spending behviors of freshmen t burph university, bngsen cmpus ccording to sufficiency economy philosophy
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รชฏ จันทร์น้อย
เมธิรา แซ่เฮ้ง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: นักศึกษา -- ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่าย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงินของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาเขตบางแสน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงิน และทดสอบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงินดังกล่าวรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน จำนวน 385 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ Pearson correlation ผลการศึกษาพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงินของนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า นิสิตกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นต่อการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติมากที่สุด คือ ประเด็นการใช้จ่ายเงินไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่ใช้ จ่ายเงินไปในทางที่ผิด เช่น ซื้อยาเสพติด เล่นการพนัน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยด้านเจตคติต่อพฤติกรรม และปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงนั้น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงินของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตบางแสน ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเชิงบวกระดับน้อยมากที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ดังนั้น ควรมีการส่งเสริมให้นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเจตคติที่ดีซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมในการออมและการใช้จ่ายเงิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมการออมผ่านสถาบันครอบครัว หรือส่งเสริมให้มีการปลูกฝังให้รักการออมโดยคนในครอบครัวเนื่องจากบุคคลในครอบครัวเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อการเพิ่มการออมของนิสิต นอกจากนี้ ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการให้จ่ายแก่นิสิตเกี่ยวกับสัดส่วนการใช้จ่ายเงินและการเก็บออมที่เหมาะสม
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6320
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น