กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6290
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้นแบบของกลุ่มออมทรัพย์ บ้านอ้อมแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting the success s production sving group model of bn om keo sving group, moo 9, mb pong sub-district, mphoe pnthong, chon buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รชฏ จันทร์น้อย
อรัญญา เกษรินทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต -- การบริหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทั่วไป
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ปัจจัยแห่งความสําเร็จในการเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้นแบบของกลุ่มออมทรัพย์บ้านอ้อมแก้ว หมู่ที่ 9 ตําบลมาบโป่ง อําเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสําเร็จในการเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้นแบบของกลุ่มออมทรัพย์บ้านอ้อมแก้ว หมู่ที่ 9 ตําบลมาบโป่ง อําเภอพานทอง จังหวัดชลบุรีผู้ให้ข้อมูลสําคัญประธานคณะกรรมการ สมาชิก กลุ่มออมทรัพย์บ้านอ้อมแก้ว จํานวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์ เป็นการสัมภาษณ์ระดับลึกคือการสัมภาษณ์แบบสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ และการสัมภาษณ์แบบการตั้ง คําถามไว้ล่วงหน้า ตรวจสอบความเพียงพอและตรงประเด็นของข้อมูล ผลการศึกษาปัจจัยแห่งความสําเร็จในการเป็นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตต้นแบบของกลุ่มออมทรัพย์บ้านอ้อมแก้ว พบว่า ด้านสมาชิก และคณะกรรมการคือ 1) ภาวะผู้นําคือ ประธานกลุ่มจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีศักยภาพในการทําหน้าที่ได้อย่างดี มีความสามารถในการวางแผนจัดการบริหารกลุ่มออมทรัพย์ให้ดําเนินงานไปด้วยดี แก้ไขปัญหา และให้คําปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเต็มความสามารถ 2) การมีส่วนร่วม คือ มีความ กระตือรือล้น และมีความสามัคคีให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุมการร่วมมือกันในการทํากิจกรรมภายในกลุ่มสามารถแลกเปลี่ยนความคิดและปรึกษาหารือกัน 3) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่มออมทรัพย์คือ มีความรู้ ความเข้าใจในการออม คือ มีวินัยการออมอย่างต่อเนื่อง 4) การปฏิบัติงาน คือ การทํางานที่ได้รับมอบหมายให้ประสบผลสําเร็จ สามารถแก้ไขปัญหา มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ด้านการบริหารกลุ่มออมทรัพย์คือ 1) มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเป็นระบบคือ มีการบริหารงานที่ดี มีความสามัคคี ความรับผิดชอบ และยอมรับที่จะปฏิบัติตามด้วย มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฝ่ายต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ 2) มีการประชุมและมีกฎระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจน คือ คณะกรรมการมีความความกระตือรือล้น และมีความสามัคคีให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุมของกลุ่มออมทรัพย์อย่างพร้อมเพรียงและสมํ่าเสมอ คณะกรรมการที่ทํางานด้วยความโปร่งใส และสมาชิกสามารถตรวจสอบได้ด้านหน่วยงานสนับสนุนและสวัสดิการ คือ คณะกรรมการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมดูงานจากหน่วยงานของรัฐ และเอกชน รวมถึงกลุ่มออมทรัพย์ของชุมชนอื่น ๆ เ ยวกับ การออมเงิน การทําอาชีพเสริมที่ประสบความสําเร็จ เพื่อนําแนวทาง รูปแบบ แนวคิด และระเบียบข้อบังคับมาปรับใช้
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6290
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf8.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น