กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6224
ชื่อเรื่อง: ผลการดำเนินงานของโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The performnce of the cre-for-the-elderly-t-home volunteer project : Plutlung subdistrict dminitrtive orgniztion Stthip, Chonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รชก จันทร์น้อย
เอมกาญจน์ กลิ่นมาลา
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: โครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน)
ผู้สูงอายุ -- การดูแล
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัย เรื่อง ผลการดำเนินงานของโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการดำเนินโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน) ขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้นจำนวน 10 คน โดยดำเนินการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi-structured interview) โดยมีข้อคำถามเกี่ยวกับการประเมินผลโครงการฯ ตามแนวคิดและทฤษฎีของสตัลเฟิลบีม (CIPPIEST Model) จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ และแนวทางการพัฒนาโครงการ โดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และอาศัยการพรรณนาข้อมูลจากคำให้สัมภาษณ์ของผู้ให้สัมภาษณ์ การศึกษา แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาผลการดำเนินงานของโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (เพื่อนช่วยเพื่อน) ได้ประสบความสำเร็จตามแนวคิดและทฤษฎีของสตัสเฟิลบีม (CIPPIEST) คือ ด้านผลกระทบ (I = Impact) ซึ่งมีผลกระทบทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ โดยคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทางร่างกายดี คือ ไม่มีอาการเจ็บป่วยโรคต่าง ๆ เพิ่มสามารถนอนหลับพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ ไม่มีการพลัดตกหกล้ม และมีคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจดีขึ้น สามารถแก้ไขปัญหากำจัดความทุกข์ออกจากจิตใจได้อย่างเหมาะสมและไม่พบผลกระทบทางด้านลบต่อผู้สูงอายุและครอบครัว ด้านประสิทธิผล (E = Effectiveness) พบว่า โครงการฯ นี้ สามรถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการเป็นอย่างดี ความพึงพอใจในการดำเนินโครงการฯ นี้ อยู่ในระดับดีถึงดีมาก สามารถทำให้ผู้สูงอายุและอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลตนเองเป็นอย่างดี รวมทั้งผู้สูงอายุและครอบครัวให้ความร่วมมือในการดำเนินโครงการเป็นอย่างดี โดยส่วนใหญ่ผู้สูงอายุจะมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ ในโครงการ ฯ ที่ ประกอบด้วย ขั้นตอนการวางแผน ลงพื้นที่ การสำรวจ และการประเมินผล ส่วนของครอบครัวส่วนใหญ่จะมีส่วนร่วมในส่วนของการสำรวจเท่านั้น คือ การให้ข้อมูลประวัติของครัวเรือน โรคประจำตัวผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อม และความต้องการในการช่วยเหลือ ด้านความยั่งยืน (S = Sustainable) พบว่า การขยายจำนวนจิตอาสาของกลุ่มวัยผู้สูงอายุที่แข็งแรง (อผส.) จะมีเพิ่มขึ้นจำนวนไม่ต่ำกว่า 100 คน เพื่อตอบรับกับสังคมผู้สูงอายุในปัจจุบัน แต่ในส่วนของจิตอาสาเยาวชนยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากเป็นวันที่ต้องศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ทำให้ไม่สามารถเป็นจิตอาสาได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ฯ จึงมีแนวโน้มที่จะปรับกลุ่มอายุใหม่หรือยกเลิกกลุ่มจิตอาสาเยาวชน ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (T = Transportation) พบว่า หลังจากดำเนินโครงการจนประสบความสำเร็จแล้วนั้นจะมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุดำเนินการถ่ายทอดส่งต่อความรู้สู่ชุมชน ซึ่งจะมีผู้สูงอายุบางส่วนที่รับรู้ถึงความสำเร็จของโครงการ ส่วนการดำเนินการเผยแพร่ความรู้ ความสำเร็จกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงจะเป็นผู้ที่ถ่ายทอดส่งต่อเอง แต่พบว่า ยังไม่มีการถ่ายทอดส่งต่อความรู้เกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการ ฯ ไปสู่ครอบครัว และแนวทางการพัฒนาโครงการจากการศึกษาพบว่า โครงการฯ นี้ ไม่ประสบความสำเร็จในบางส่วนของความยั่งยืน คือ การขยายจิตอาสาเยาวชน ดังนั้น ควรมีการปรับเปลี่ยนกลุ่มจิตอาสาจากกลุ่มจิตอาสาเยาวชนเป็นกลุ่มจิตอาสาอื่น ๆ และยังพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เข้าร่วมโครงการนี้มีประวัติข้อเขาวปวดหรือเสื่อมเป็นจำนวนมาก จึงควรมีการจัดเครือข่ายความร่วมมือกับโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ทางด้านสุขภาพ เพื่อลงพื้นที่ไปให้คำแนะนำและความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเป็นการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีต่อไป และในส่วนของแบบสอบถามที่ใช้ประเมินผลหลังจากดำเนินโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวงนั้น ควรมีการแบ่งกลุ่มหรือจำแนกกลุ่มในการเก็บแบบสอบถามของกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วย กับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ เพื่อการเข้าไปแก้ไขปัญหาในส่วนต่าง ๆ ของโครงการฯ ได้อย่างครอบคลุมต่อไป
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6224
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf3.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น