กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6217
ชื่อเรื่อง: รูปแบบความร่วมมือกลุ่มบุคคลเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจของโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิจังหวัดร้อยเอ็ดในภาวะที่เกิดภัยแล้ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: bIndividul group coordintion ptterns for business continuity in thi hom mli rice supply chin in roi et province during drought period
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บรรพต วิรุณราช
ณัฎฐวัฒน์ วงศ์ศิริคุณากร
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมถรรนะของมนุษย์
ธุรกิจ -- การบริหาร
ความร่วมมือ -- เจ้าของกิจการ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบความร่วมมือของกลุ่มบุคคลในโซ่อุปทาน ข้าวหอมมะลิจังหวัดร้อยเอ็ดในภาวะที่เกิดภัยแล้งที่จะทำให้เกิดความต่อเนื่องทางธุรกิจของโซ่อุปทานข้าวประชากรประกอบด้วยกลุ่มผู้ผลิตข้าวเปลือกกลุ่มผู้จัดหาข้าวเปลือกกลุ่มผู้ผลิตข้าวสารและกลุ่มผู้จำหน่ายข้าวสารผู้วิจัยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) รูปแบบการสนทนากลุ่ม (Focus group) ทุกกลุ่มในโซ่อุปทานข้าวโดยมีผลการวิจัยดังนี้ 1. แนวทางการดำเนินการเพื่อความต่อเนื่องทางธุรกิจของโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิ จังหวัดร้อยเอ็ดในภาวะเกิดภัยแล้ง ได้แก่ (1) การบริหารจัดการแหล่งน้ำต้นทุนเป็นบ่อบาดาล 1 บ่อ/ 5ไร่ หรือขุดสระ 1 บ่อ/10 ไร่ โดยกลุ่มผู้ผลิตข้าวเปลือก (2) การสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้ชาวนา ในฤดูการผลิตต่อไปหลังเกิดภัยโดยกลุ่มผู้จัดหาข้าวเปลือก (3) การทบทวนแผนการตลาด การหาตลาดจำหน่ายข้าวสารทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดยกลุ่มผู้ผลิตข้าวสารและกลุ่มผู้จำหน่ายข้าวสาร 2. แนวทางความร่วมมือภายในโซ่อุปทานข้าว ได้แก่ (1) การวางแผนการผลิต แผนการรับซื้อแผนการจำหน่ายให้สอดคล้องกัน (2) การบริหารจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวให้ได้มาตรฐาน มีการกันเมล็ดพันธ์ข้าวไว้กู้ยืมหลังเกิดภัย (3) การแปรรูปข้าวเปลือกที่ไม่ได้คุณภาพหลังการเกิดภัยให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า 3. แนวทางความร่วมมือนอกโซ่อุปทานข้าว ได้แก่ (1) การจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง (2) การส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตและพัฒนาองค์ความรู้แก่ชาวนาให้สามารถรับมือกับภัยแล้งได้ (3) การควบคุมเมล็ดพันธุ์ข้าวและการบริหารจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวหลังเกิดภัย (4) การพัฒนาองค์ความรู้ผู้ประกอบการเพื่อขยายตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6217
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น