กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6191
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์หลักการดีเอ็มเอไอซี เพื่อลดของเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินพาณิชย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Implementing the dmic for defect reduction in the ircrft prts mnufcturing process
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทร์ฑา นาควชิรตระกูล
มโนรัตน์ จันทร์คำ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
อุตสาหกรรมอากาศยาน -- การควบคุมการผลิต
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
อุตสาหกรรมอากาศยาน -- การลดปริมาณของเสีย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการขึ้นรูปโลหะด้วยวิธีการแมชชีนนิ่งเพื่อลดอัตราของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน จากการศึกษา ข้อมูลของเสียในปี 2557 ไตรมาสที่ 4 พบว่า ผลิตภัณฑ์หมายเลข144A6526-1 หรือ Door lower stop มีอัตราของเสียอยู่ที่ 3.74% ซึ่งเกินกว่า ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายของบริษัทกรณีศึกษาที่กำ หนดไว้ที่ 1% และมีแนวโน้มที่จะเกิดของเสียจำนวน 117 ชิ้น ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 440,826.26 บาท ปัญหาที่พบ คือ ความหนาของชิ้นงานไม่ได้ขนาดผิวของชิ้นงานเกิดรอยลึกที่เกิดจากคมตัดของเครื่องมือตัด และผิวชิ้นงานมีความต่างระดับที่เกิดจากเครื่องมือตัดการปรับปรุงกระบวนการผลิตจะดำเนินการโดยนำหลักการดีเอ็ม เอไอซีแผนผังก้างปลา เอฟเอ็มอีเอ มาประยุกต์ใช้เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาแล้วจึงทำการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยการปรับปรุงอุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน กำหนดมาตรฐานในการทำงาน และกำหนดมาตรฐานในการตรวจสอบสภาพเครื่องมือตัด ผลของการปรับปรุงพบอัตราของเสียอยู่ที่ 0.26% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่บริษัทกรณีศึกษากำหนดไว้ที่อัตราของเสียไม่เกิน 1% และเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราของ เสียในไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2557 อัตราการเกิดของเสียลดลงจาก 3.74% เหลือ 0.26% หรือสามารถลดลงได้ 93.04% จากจำนวนของเสียที่พบก่อนปรับปรุง
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6191
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.67 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น