กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6183
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorนพคุณ บุญกระพือ
dc.contributor.authorธนา น้อยเรือน
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T02:34:31Z
dc.date.available2023-05-12T02:34:31Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6183
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการศึกษาสนใจพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของคนเดินเท้าภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในประเทศไทย เพื่อใช้พัฒนา ปรับเทียบแบบจำลองและวิเคราะห์อัตราการไหลออกของผู้อพยพที่มีผลจากขนาดและรูปแบบของบันได รวมถึงเวลาการอพยพผู้โดยสารจากชานชาลาไปยังจุดปลอดภัยระดับ ผิวดินของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยวิเคราะห์รูปแบบการอพยพ 3 กรณีได้แก่ กรณีที่ 1ผู้โดยสารอพยพ โดยใช้บันไดเท่านั้นได้เลื่อนทั้งหมดไม่เปิดใช้งาน กรณีที่ 2 ผู้โดยสารอพยพโดยใช้บันได และใช้บันไดเลื่อนเฉพาะทิศทางขึ้น 1 เครื่อง และกรณีที่ 3 ผู้โดยสารอพยพโดยใช้บันได และใช้บันไดเลื่อน ทิศทางขึ้น 2 เครื่อง พร้อมแปรเปลี่ยนจำนวนผู้โดยสารที่รอบนชานชาลา แบบจำลองถูกปรับเทียบกับข้อมูลการสำรวจผลที่ได้จะถูกเปรียบเทียบกับค่าเวลาการอพยพตามมาตรฐาน National Fire Protection Association (NFPA 130) พบว่า พฤติกรรมการเดินของผู้โดยสารเพศชายมีความเร็วมากกว่าเพศหญิงและที่ช่วงอายุผู้โดยสารเดียวกันจะมีความเร็วในการเดินใกล้เคียงกัน ความลาดชันของบันได มีผลกระทบต่อความเร็วในการเคลื่อนที่แต่อัตราการระบายการอพยพไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เนื่องจากความลาดชันถูกชดเชยด้วยความยาวของบันได และความสบายในการเดินบนบันได การระบายผู้อพยพจะแปรผันตามความกว้างของบันได และเวลาการอพยพผู้โดยสารที่สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีลกัษณะทางกายภาพที่ต่างกัน พบว่า กลุ่มรูปแบบสถานีห้วยขวางการอพยพกรณีที่ 1-3 จำนวนผู้อพยพที่มากกว่า 2,350, 3,150 และ 3,500 คน ตามลำดับ กลุ่มรูปแบบสถานีสุขุมวิทที่กรณีที่ 1-3 จำนวนผู้อพยพไม่เกิน 2,600, 2,850 และ 2,950 คน ตามลำดับ กลุ่มรูปแบบสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในกรณีที่ 1-3 จะสามารถระบายผู้อพยพได้ไม่เกิน 2,300, 3,050 และ 3,650คน ตามลำดับ และรูปแบบสถานีสีลมในกรณีที่ 1-3จะต้องมีจำนวนผู้โดยสารในการอพยพไม่เกิน 1,300, 1,850 และ 2,200 คน ตามลำดับ ถ้าหากจำนวนผู้โดยสารมีมากกว่าที่กล่าวมาเวลาการอพยพผู้โดยสารจากชานชาลาไปยังจุดปลอดภัยจะใช้เวลามากกว่า 6 นาที และเวลาการอพยพขึ้นอยู่กับ ประสิทธิภาพการระบายของสิ่งอำนวยความสะดวกที่ใช้ในการอพยพ เช่น บันไดกว้าง 1.80 เมตร และบันไดเลื่อน 1 เครื่อง สามารถระบายผู้อพยพได้ประมาณ 120 และ 80-100 คนต่อนาทีตามลำดับ และการเปิดบันไดเลื่อน 1 เครื่อง จะเพิ่มประสิทธิภาพการอพยพได้เฉลี่ยประมาณ 13-16 เปอร์เซ็นต์ผลที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการพิจารณาออกแบบ วางแผน และจัดการการอพยพภายในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในประเทศไทยใน การระบายผู้โดยสารออกจากสถานีเพื่อไม่ให้ผู้โดยสารภายในสถานีมีปริมาณที่มากกว่าค่าดังกล่าว
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ หาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
dc.subjectผู้โดยสาร -- การย้ายถิ่น
dc.subjectสถานีรถไฟใต้ดิน -- การออกแบบ
dc.subjectแบบจำลองทางวิศวกรรม
dc.subjectการออกแบบพื้นที่คนเดินเท้า
dc.titleการประยุกต์ใช้แบบจำลองในการวิเคราะห์การอพยพผู้โดยสารบริเวณสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินในประเทศไทย
dc.title.alternativeApplying pedestrin simultion to nlysis the evcution t Underground Rilwy Sttion in Thilnd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study is toinvestigate the moving behaviors of pedestrians in underground railway stations in Thailand. These behaviors data were used in pedestrian model development and calibration process in order to analysis the evacuation time in different scenarios. Different sizes of staircase that effects to the pedestrian evacuation flow rate were explored as well. The evacuation of travel times between platform and safe area on the ground level with three different evacuation scenarios were compared and analyzed. The evacuation scenarios were following cases; case 1: using only staircase, case: 2 using staircase and one escalator, and case 3: using staircase and two escalators. The simulation models were calibrated by using the real data set collected at the underground railway station. Then, the results were compared to the standard evacuation time used by National Fire Protection Association (NFPA 130). The results reveal that male pedestrians walk a bit faster than the female and a passenger of the same age tends to have similar walking speed. Regarding the width and slope of stairs, they significantly affect the moving speed but do not significantly influence the evacuation flow rate (at significance level 0.05). It is because compensation by the stair length and other convenient facilities. The wider the stairs the greater the number of evacuees can be. The results of evacuation at underground railway stations with the basis of different structural characteristics for the case study were found following; HuaiKhwang station, the evacuation of case 1- 3 can carry 2,350, 3,150 and 3,500 evacuees, respectively.Sukhumvit station, the evacuation of case 1-3 can carry 2,600, 2,850 and 2,950 evacuees, respectively. Thailand Cultural Centre station, the evacuation of case 1-3 can carry 2,300, 3,050 and 3,650 evacuees, respectively.Silom station, the evacuation of case 1-3 can carry 1,300, 1,850 and 2,000 evacuees, respectively. The evacuation time will be more than six minutes when the number of evacuees exceeds a certain value. The effectiveness of the evacuation facilities is the determinant of the evacuation speed. For instance, one 1.8 m. width stairs and one escalator achieve a maximum one-way pedestrian evacuation flow of 120 and 80-100 ped/min. respectively. If one more escalator is in operation, the effectiveness of pedestrian evacuation will increase by approximately 13-16 percent. The obtained pedestrian simulation evacuation model can be used as a basic guideline for designing, planning, and operating pedestrian evacuation at Thailand’s underground railway stations.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธา
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf9.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น