กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6130
ชื่อเรื่อง: การศึกษากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ ด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านสะเต็มศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of engineering design process of grde 9th students on dissolved oxygen fter conducting stem eduction ctivity
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริรัตน์ ชาญไววิทย์
สนธิ พลชัยยา
มนัส ชวดดา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: วิทยาศาสตร์ -- การทดลอง (มัธยมศึกษา)
ออกซิเจน -- การวิเคราะห์
การออกแบบการทดลอง
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเคมีศึกษา
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เตรียมชุดตรวจวัดออกซิเจนละลายในน้ำสำหรับใช้ ในภาคสนามและประเมินประสิทธิภาพโดยเทียบกับวิธีมาตรฐาน (2) ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ค่ายวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ โดยนำ ชุดตรวจวัดออกซิเจนละลายในน้ำ ที่เตรียมขึ้นมาใช้ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ผ่านสะเต็มศึกษา และ (3) ศึกษากระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ค่าย วิทยาศาสตร์ เรื่อง ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ ด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านสะเต็มศึกษา กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 จากโรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 146 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน โดยได้จาก อาสาสมัคร ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดตรวจวัดปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสำหรับใช้ในภาคสนามที่ เตรียมขึ้นกับวิธีมาตรฐานไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ความเชื่อมั่น 95% (2) จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่ากิจกรรมการเรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปริมาณ ออกซิเจนละลายในน้ำด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านสะเต็มศึกษาที่ออกแบบขึ้นมีความสอดคล้องตาม แนวทางสะเต็มศึกษาและมีกระบวนการที่เป็นไปตามรูปแบบของกระบวนการออกแบบเชิง วิศวกรรมโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 (3) นักเรียนที่ผ่านการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านสะเต็มศึกษา เกิดกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมผลการประเมินในภาพรวมทั้ง 5 ขั้นอยู่ในระดับดีมาก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6130
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56920136.pdf7.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น