กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/571
ชื่อเรื่อง: การศึกษาวิถีชีวิตของชาวต่างชาติในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และมาบตาพุด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of lifestyle of foreigners in Laem Chabang and Map Ta Put Industrial estates
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เรวัต แสงสุริยงค์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ชาวต่างประเทศ - - ชลบุรี - - การดำเนินชีวิต
ชาวต่างประเทศ - - ระยอง - - การดำเนินชีวิต
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด - - ระยอง
นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง - - ชลบุรี
สาขาสังคมวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2542
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิถีชีวิตของชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและมาบตาพุด และวิเคราะหปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทยของชาวต่างชาติ ผลการวิจัยพบว่า ชาวต่างชาติในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและมาบตาพุดส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตคล้ายคลึงกัน คือเป็นผู้ที่สมรสแล้ว มีที่พักอาศัยเป็นคอนโด/อพาตเมนต์/โรงแรม มีเพื่อนบ้านเป็นคนต่างชาติทักทายกับเพื่อนบ้านเป็นบางครั้ง มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินในระดับปานกลางถึงระดับดี มีข้อมูลเล็กน้อยในการปฏิบัติตนเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเกิดอุบัติเหตุ ด้านการทำงาน ส่วนใหญ่ทำงานเป็นผู้บริหาร/ ผู้จัดการ รองลงมาเป็นวิศวกร และมีชั่วโมงทำงานในหนึ่งสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง ด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่นิยมซื้อเครื่องอุปโภคและบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวันจากร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตใกล้บ้าน ใช้เวลาว่างด้วยการเล่นกีฬา เมื่อมีเวลาว่างนิยมไปท่องเที่ยวหรือพักผ่อนที่ภาคเหนือ และได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากภาวะเศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันเช่นกัน ด้านการสื่อสาร ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษในการทำงาน พูดภาษาไทยได้เล็กน้อย ไม่สามารถ่านและเขียนภาษาไทยได้ มีการติดตามข่าวและสถานการณ์ของประเทศตนเองจากโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ และติดต่อครอบครัวที่อยู่ต่างประเทศโดยใช้โทรศัพท์ ด้านการเผยแพร่และรับวัฒนธรรม ส่วนใหญ่เคยทำการเผยแพร่วัฒนธรรมประจำชาติของตนให้กับเพื่อนร่วมงาน มีการรับประทานอาหารไทยบ่อยครั้ง เคยเข้าร่วมงานมงคลและงานอมงคลของไทย แต่ไม่เคยทำบุญหรือตักบาตรแบบชาวพุทธ และไม่เคยแต่งชุดไทย ด้านการปรับตัวเข้ากับสังคม ส่วนใหญ่ปรับตัวเข้ากับสังคมไทยระดับปานกลาง มีความประทับใจต่อประชาชนมากที่สุด มีความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานคนไทยอยู่ในระดับทุติยภูมิ สนใจข่าวสารและสถานการณ์ของประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลาง และต้องการเรียนรู้เรื่องวัฒนธรรมและประชาชนมากเป็นอันดับ 1 ด้านการลงทุนและอาศัยอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ไม่มีแผนการที่จะลงทุนหรือทำธุรกิจด้วยตนเองในประเทศไทย มีอุปสรรคในการลงทุนด้านกฎหมาย และไม่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ด้านการปฏิบัติตามวัมนธรรมไทย ชาวต่างชาติที่เป็นชาวตะวันออกและชาวตะวันตกในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและมาบตาพุดมีการปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทยไม่แตกต่างกัน ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่มีผลต่อการปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทยคือ ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยมีปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานคนไทย และความสนใจข่าวสารและสถานการณ์ของประเทศไทยทำให้ชาวต่างชาติปฏิบัติตามวัฒนธรรมไทยเพิ่มขึ้น The purpose of this study was to examine the lifestyle of foreigners in the Laem Chabang and Map Ta Put industrial estates and to analyze the factors affecting their adaptation to Thai culture. The study found that: Most of the foreigners in the Leam Chabang and Map Ta Put industrial estates have a similar lifestyle. Most are married and live in condominiums/apartments/hotels. Their neighbors are otherforeigners with whom they have a casual acquaintance. They have a moderate to high standard of personal safety and secutity. They have limited knowledge of what action to take in the event of an accident or an emergency. Most commonly, the foreigners weok as administrators/managers, followed by engineers. On average, they work at least 47 hours/week. Most purchase everyday consumer goods and other essential items at nearby supermakets.Their free time is spent on sports. They enjoy traveling in the North and South of Thailand and have also been impacted by the current economic crisis affecting the country. At work, most of the foreigners communicate in English. Most speak only a minimal amount o Thai, and they neither read nor write Thai. They keep abreast of what is happening in their own countries by watching television and reading newspapers. They keep in touch with their families at home by telephone. Most of the foreigners have shared their own customs and culture with their colleagues. They frequently eat Thai food. They have attended Thai ceremonies (weddings, birthdays, funerals, etc.), but they have never made merit or offered alms to Buddhist monks. They have never worn traditional Thai dress. Most have adjusted moderately well to Thai society. They are particularly impressed by Thai people and have relatively good working relations with their Thai colleagues. They have moderate interest in events occurring in Thailand, and their top priority is to better understand Thai culture and Thai people. Most of the foreigners have no plans to invest or begin their own business in Thailand, citing legal obstacles to investing. They do not intent to purchase a home in Thailand. At the Leam Chabang and Map Ta Put industrial estates, foreigners from Western countries and those from Eastern countries are not significantly different in their adaptation to Thai culture. The primary factor affecting their adaptation is the length of time they have spent in country. Other impprtant factors include their relations with Thai colleagues and their interest in local events.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/571
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2567_163.pdf2.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น