กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4670
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดที่มีรายได้น้อยในภาคตะวันออกของประเทศไทย กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cultural tourism management: A case study of Nakhon Nayok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นันทวดี ดีพร้อม
ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
คำสำคัญ: การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมนโยบายเพื่อการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครนายก 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครนายก 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการการกลับมาเที่ยวซ้้าที่จังหวัดนครนายกของนักท่องเที่ยวช าว ไท ย แ ล ะช าว ต่ างป ระ เท ศ แ ล ะ 4) เพื่ อ ศึ ก ษ าก ระ บ ว น ก ารก ารพั ฒ น าก ารท่ อ งเที่ ย วเชิงวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับชุมชนในจังหวัดนครนายก โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า การส่งเสริมนโยบายเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครนายกสามารถท้าได้ดังนี้1) การส่งเสริมเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นในแต่ละชุมชน 2) การพัฒนาให้แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงให้กับชุมชนอื่น ๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน 3) การส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครนายกที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการกลับมาเที่ยวซ้้าที่จังหวัดนครนายก ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประกอบด้วย 1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์2) การพัฒนากิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) การบริหารเศรษฐกิจทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของชุมชน ดังนั้น กระบวนการการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เหมาะสมกับชุมชนในจังหวัดนครนายก ท้าได้ดังนี้ 1) การหาจุดแข็งของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน 2) การค้นคว้า วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง 3) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4670
ISSN: 1685-2354
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
mba16n2p1-14.pdf616.05 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น