กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4322
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสมมาตุ มหารักษ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์th
dc.date.accessioned2022-04-29T06:58:18Z
dc.date.available2022-04-29T06:58:18Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4322
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561th_TH
dc.description.abstractจุดประสงค์ของการศึกษานนี้มี 3 แนวทางคือ 1) เพื่อสํารวจระดับขีดความสามารถและผลการ ดําเนินการของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทย 2) เพื่อตรวจสอบหาปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับขีดความสามารถและผลการดําเนินการของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของ ประเทศไทย และ 3) เพื่อนําผลการศึกษาไปปรับปรุงและพัฒนาขีดความสามารถและผลการดําเนินการของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทย หน่วยของการวิเคราะห์เป็นสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทย 6 ประเภท คือ วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยสารพัดช่าง และวิทยาลัยพาณิชย์และอื่น ๆ กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากประชากร 423 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง 123 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 60 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ด้วยแบบสอบถามการวัดแบบ likert - scale 5 ระดับ ความเชื่อมั่น การรวบรวมข้อมูลอยู่ที่ระดับ 0.970 การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์ descriptive analysis, ANOVA, Correlation and Regression ผลการวิเคราะห์พบว่าขีดความสามารถและผลการดําเนินการของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทยอยู่ที่ระดับสูง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญในเทคโนโลยีสารสนเทศ และความรู้และการเรียนรู้ท่ามกลางชนิดวิทยาลัย วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยสารพัดช่าง และวิทยาลัยพาณิชย์และอื่น ๆ มีขีดความสามารถเทคโนโลยีสารสนเทศสูงกว่าวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ในขณะที่วิทยาลัยการอาชีวศึกษามีขีดความสามารถความรู้และการเรียนรู้สูงกว่าวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยการอาชีพ และวิทยาลัยเกษตรและเทค โนโลยี เช่นเดียวกับวิทยาลัยพาณิชย์และอื่น ๆ มีขีดความสามารถของความรู้และการเรียนรู้สูงกว่าวิทยาลัยเทคนิคและวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 3 ปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงเชิงบวกต่อผลการดําเนินการจากมากที่สุดไปสู่น้อยที่สุดคือ ภาวะผู้นําความร่วมมือ และทรัพยากรการเงิน ตามลําดับ แสดงสมการได้ว่า y= (0.229)x1 + (0.119)x2 + (0.173)x3. การค้นพบสะท้อนให้เห็นว่า ภาวะผู้นํา ความร่วมมือ และทรัพยากรการเงิน เป็นจุดแข็งสําคัญที่สุดของขีดความสามารถและผลการดําเนินการของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทย แต่มีจุดอ่อนทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ความรู้และการเรียนรู้ และพันธะสัญญาผู้มีส่วนได้เสีย นอกจากนั้นขนาดยังเป็นจุดอ่อนสําคัญจากการที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทรัพยากรการเงินแต่ไม่มี ความสัมพันธ์กับขีดความสามารถและผลการดําเนินการของวิทยาลัย จึงเห็นว่าสถาบันการศึกษา อาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทยควรปรับปรุงขนาดวิทยาลัยให้เป็นผลโดยตรงต่อการพัฒนาประเทศและก้าวไปสู่สถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาระดับสากล ผู้นําวิทยาลัยต้องการผู้ดํารงตําแหน่งที่ทักษะภาวะผู้นําได้รับการยอมรับอย่างเต็มใจจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อการบริการที่ดีและเป็นธรรมควรมีความร่วมมือที่มีความยอดเยี่ยมในผลการดําเนินการและการบริการที่น่าเชื่อถือด้วยการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียในการดําเนินการ เพื่อให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวในการดําเนินการทรัพยากรการเงินควรไปสู่การจัดการเชิงยุทธศาสตร์ สําหรับทรัพยากรมนุษย์ต้องการได้รับการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถและค่าตอบแทนบนกระบวนการกฎหมายที่เป็นธรรมและชอบธรรมของวิทยาลัย บุคลากรควรถูกฝึกอบรมให้มุ่งเพิ่มขีดความสามารถและลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง ในส่วนความรู้และการเรียนรู้วิทยาลัยควรมีแผนพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจนที่ผ่านกระบวนการยอมรับอย่างเต็มใจ สําหรับเทคโนโลยีสารสนเทศวิทยาลัย ควรดําเนินการปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้บรรลุสู่ความยอดเยียมเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้บริการและสังคมทั่วไป ในส่วนพันธะสัญญาผู้มีส่วนได้เสีย กระบวนการมีส่วนร่วมในการให้บริการและในการดําเนินการ ควรได้รับการยอมรับอย่างเต็มใจจากผู้มีส่วนได้เสีย ผลการดําเนินการ-ผลผลิต ผลลัพธ์ ประสิทธิภาพควรยกระดับจากระดับสูงไปสู่ระดับสูงที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ปริมาณผลผลิตควรดําเนินการตามแผนการพัฒนาประเทศ การเข้าถึงสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทยควรทําได้ง่ายโดยเทคโนโลยีสารสนเทศ ผลผลิตควรมีคุณภาพและควรตอบสนองการพัฒนาประเทศและเป็นมาตรฐานสากล ควรลดขั้นตอนการทำงานให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ประเทศไทยต้องมีแผนการพัฒนาประเทศที่มีทิศทางเป้าหมายชัดเจนในคุณลักษณะคุณสมบัติของประชาชนและจํานวนที่จะรองรับการพัฒนาประเทศ สถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทยควรมีทิศทางการสร้างความรู้และมาตรฐานสู่สากลth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการบริหารการศึกษาth_TH
dc.subjectอาชีวศึกษา - - การบริหารth_TH
dc.titleขีดความสามารถและผลการดำเนินการของสถาบันการศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐของประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeThe capacity and performance of public vocational education institutions of Thailanden
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailsommart@buu.ac.th
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was three aims: 1) to explore the capacity and the performance levels of public vocational education institutions of Thailand, 2) to investigate the determinants of the capacity and performance level, and 3) to upgrade the capacity and the performance levels of public vocational education institutions of Thailand. The unit of analysis was public vocational education institutions of Thailand which were categorized into 6 types: Technical colleges, Industrial and Community Education colleges, Vocational colleges, colleges of Agriculture and Technology, Polytechnic colleges, and Commercial colleges and others. The sample was selected by multi-stage random sampling from the population of 423 colleges. The sample of 123 colleges accounted for 60% of the total sample. A 5-point likert-scale questionnaire with the overall reliability of .970 was used to collect the data. Statistical analysis included descriptive analysis, ANOVA to analyze differences between colleges, Correlation and Regression to test the hypotheses. The result showed that the capacity and the performance of public vocational education institutions of Thailand were at a high level. There was significant difference in Information Technology and knowledge and learning among college types. Technical colleges, Industrial and Community Education colleges, Vocational colleges, Polytechnic colleges, and Commercial colleges and others have more Information Technology than colleges of Agriculture and Technology. As for Vocational colleges have more knowledge and learning than Technical colleges, Industrial and Community Education colleges and colleges of Agriculture and Technology. Likewise, Commercial colleges and others have more knowledge and learning than Technical colleges and colleges of Agriculture and Technology. Three factors positively affecting the performance ranked from the highest to the lowest level were leadership, collaboration and financial resources, respectively. The equation that showed the relationship was y= (0.229)x1 + (0.119)x2 +(0.173)x3. The findings reflected that leadership, collaboration, and financial resource were the most important strength of the capacity and the performance of public vocational education institutions of Thailand. As size positively related to financial resources as it is not positively related to performance. Size was important weaknesses. It was recommended that public vocational education institutions of Thailand increase their size in line with the direction of national development and become international colleges. The leaders needed to possess leadership skills and to be willingly accepted by the college stakerholders. For good services and fairness. There should be collaboration in rendering outstanding and reliable services with stakeholders participating in the operation. The financial resource should be able to accommodate financial strategic management. The human resource needed to be treated fairly ix through a fair process on rules of colleges. The personnel should be trained to focus continuously on increase of capacity and reduction of operational costs. As for knowledge and learning, they should have a clear personnel development plan through the willingly accepted process. With regard to stakeholder commitments, a participatory process in providing services and in operation should be willingly accepted by the stakeholders. The performance –output, outcome and efficiency- should be upgraded to the highest level possible. The output quantity should follow the plan. Access to public colleges of Thailand should be made easily by information technology. The output should have quality and should respond to the national development and meet the international standard. The work steps should be cut short as much as possible. The National Development Plan should have a clear direction in terms of people’s qualifications and number to serve as the manpower of the country. Public vocational education institutions of Thailand should have the direction in knowledge building and in becoming international knowledge.en
dc.keywordสาขาการศึกษาth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2565_030.pdf2.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น