กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4079
ชื่อเรื่อง: การวิจัยกำกับ ติดตาม และประเมินผล การจัดกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของเครือข่ายทางการศึกษาที่รับเงินทุนอุดหนุนกิจกรรมพัฒนาวิชาชีพของคุรุสภา : กรณีศึกษาภูมิภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Supervising, monitoring and evaluating the professional learning community, activities management of networks with the financial support of the Teachers Council of Thailand : A case study of eastern region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศ์เทพ จิระโร
อาพันธ์ชนิต เจนจิต
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ -- การประเมิน
การพัฒนาบุคลากร
ครู
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมตัวกันเป็นเครือข่ายที่มีการพัฒนาวิชาชีพแบบ PLC เพื่อประเมินสมรรถนะการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนและครูผ่านกระบวนการ PLC เพื่อประเมินความร่วมมือ และการเป็นหุ้นส่วนทางวิชาการและวิชาชีพระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ภาคเอกชนและหน่วยงานทางการศึกษากับคุรุสภา และเพื่อประเมินองค์ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการ PLC สรุปผลวิจัย นวัตกรรมการสอน ซึ่งเป็นผลการดำเนินงาน PLC พบว่า ส่วนใหญ่นวัตกรรมการสอนเป็น BBL (Brain-Based Learning) (ร้อยละ 61.01) สำหรับผลเกิดกับผู้เรียนเป็นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัยมากที่สุด (ร้อยละ 44.09) บรรลุวัตถุประสงค์การสอนโดยรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 77.96) จำนวนครูสมาชิกเครือข่ายส่วนใหญ่กลุ่มละ 0-5 คน (ร้อยละ 60.06) จำนวนนักเรียนแต่ละกลุ่มส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 21-50 คน (ร้อยละ 66.77) และพบว่าจำนวนชั่วโมง PLC ครูส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 51-75 ชั่วโมง (ร้อยละ 81.79) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชนิดของนวัตกรรมการสอนที่นำมาใช้ในกระบวนการ PLC กับผลสัมฤทธิ์หรือผลอื่นๆ ของนักเรียน โดยการทดสอบค่าไคสแควร์ (Chi-square) พบว่า ชนิดของนวัตกรรมการสอนมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 การศึกษาความสัมพันธ์ โดยสูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (rxy) พบว่าจำนวนชั่วโมง PLC ที่ได้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การสอนในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวนนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายมีความสัมพันธ์กับจำนวนชั่วโมง ประโยชน์ที่ได้รับจาก PLC และผลประเมินรวมในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวนชั่วโมง PLC มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกกับประโยชน์ที่ได้รับจาก PLC และผลประเมินรวม และประโยชน์ที่ได้รับมีความสัมพันธ์กับผลประเมินรวมในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4079
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
edu31n3p12-26.pdf114.62 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น