กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3582
ชื่อเรื่อง: การหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงซ้อน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investigation of average optical density and degree of liquids saturation in sand by multispectral image analysis method
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิทธิภัสร์ เอื้ออภิวัชร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: เทคนิคการวิเคราะห์ภาพถ่ายเชิงซ้อน
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้จะศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายชนิดต่าง ๆ 5 ชนิด ได้แก่ ดินทรายออตตาวา 3820 ดินทรายออตตาวา 3821 ดินทรายอยุธยา ดินทรายชลบุรีและดินทรายโทยุระ ส่วนของเหลวที่ใช้ในการทดสอบ คือ น้ํา และ ขี้ผึ้ง เหลว โดยขี้ผึ้งเหลวจะทําการย้อมสีแดงด้วยเรดซูดานสาม (Red Sudan III) ด้วยอัตราส่วน 1:10,000 โดยน้ําหนัก ทําการศึกษาคุณสมบัติทางด้านกายภาพและองค์ประกอบทางเคมีของดินทรายชนิดต่าง ๆ เช่น การทดสอบหาความถ่วงจําเพาะ (Specific gravity) การทดสอบการกระจายตัวของเม็ดดิน (Sieve analysis) การวิเคราะห์สารอินทรีย์ในดินด้วยการเผา (Ignition Loss Method) การถ่ายภาพขยายอนุภาพด้วยเครื่อง Scanning Electron Microscope (SEM) ค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยสามารถหาได้โดยถ่ายภาพตัวอย่างทรายผสมกับของเหลวที่ระดับการอิ่มตัวต่าง ๆ ด้วยกล้องดิจิตอลจํานวน 2 ตัว โดยกล้องแต่ละตัวทําการติดตั้งฟิลเตอร์กรองแสงให้ผ่านที่ความถี่ 450 นาโนเมตร และ 640 นาโนเมตร รูปถ่ายที่ได้ถูกนําไปวิเคราะห์เพื่อหาค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยที่ความถี่ 450 นาโนเมตร และ 640 นาโนเมตรโดยใช้โปรแกรมการคํานวณที่เขียนบนซอฟแวร์ MatLab จากนั้นวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวในทรายชนิดต่างๆและวิเคราะห์ผลกระทบของลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของดินทราย ที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลว การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายแตกต่างชนิดกัน 5 ชนิดพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ย และระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายออตตาวา 3820 ออตตาวา 3821 ดินทรายโทยุระ มีความสัมพันธ์กันแบบแปรผันตรง กล่าวคือเมื่อระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายเพิ่มมากขึ้น ค่า ความเข้มแสงเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนดินทรายอยุธยา ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาแน่น เชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวมีความสัมพันธ์กันแบบผกผัน กล่าวคือ เมื่อระดับการอิ่มตัวของของเหลวในดินทรายเพิ่มมากขึ้น ค่าความเข้มแสงเฉลี่ยมีค่าลดลง ส่วนในดินทรายชลบุรีไม่ พบความสัมพันธ์แบบเชิงเส้นระหว่างค่าความหนาแน่นเชิงแสงเฉลี่ยและระดับการอิ่มตัวของของเหลวโดยปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว ได้แก่ ขนาดคละของเม็ดดิน ลักษณะพื้นผิวของเม็ดดิน ธาตุในดิน สีของดิน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3582
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2563_013.pdf4.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น