กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2694
ชื่อเรื่อง: แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Methods in developing garbage management in a participatory by Bangnang tombon administration organization, Panthong district, Chon Buri province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรัณยา เลิศพุทธรักษ์
นันทนา ผาสุข
วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: การกำจัดขยะ - - การมีส่วนร่วมของประชาชน
การกำจัดขยะ
องค์การบริหารส่วนตำบล - - ไทย - - ชลบุรี
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2554
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานโยบายในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 2) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางนา อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 3)เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการขยะมูลฝอย อย่างมีส่วนร่วมของประชาชนที่เหมาะสมขององค์การบริหารส่วนตำบลบางนา อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชนในตำบลบางนาง จำนวน 12 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มผู้นำชุมชน คือ กำนัน และผู้ใหญ่บ้านจำนวน 9 คน กลุ่มผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล คือ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน และกลุ่มพนักงานส่วนตำบล คือ ปลัด และเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน จำนวน 2 คน ใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการวิจัยพบว่า นโยบายในการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบางนาง ได้มีการจัดซื้อรถขยะ ดำเนินการสรรหาบุคลากรมาทำหน้าที่ในการจัดการขยะมูลฝอยและออกข้อบังคับในการจัดกรขยะมูลฝอย เรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งสภาพและปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ส่วนใหญ่แหล่งกำเนิดขยะมูลฝอยมาจากบ้านเรือน ร้านค้า และร้านอาหาร วิธีการกำจัดขยะในปัจจุบัน มีการคัดแยกขยะไปขายให้กับร้านรับซื้อของเก่า และมีการกำจัดขยะมูลฝอยโดยการเผา หรือฝังกลบ ทำให้เกิดปัญหาปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น วิธีการกำจัดขยะที่ไม่ถูกหลักสุขาภิบาล ขาดภาชนะรองรับขยะมูลฝอย และประชาชนทิ้งขยะไม่เป็นที่แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยอย่างมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล บางนาง ควรกำหนดนโยบายเป้าหมาย และวางแผนในการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในเชิงรุกลงสู่ชุมชนให้มากขึ้น ควรเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยแบบบูรณาการและควรมีการพัฒนาบุคลากร โดยการอบรมเพิ่มพูนความรู้ให้แก่บุคลากร เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2694
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
55-67.pdf4.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น