กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2515
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดสื่อสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบบูรณาการตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of robolic design material packages for integrative learning science and technology based on constructionism theory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ทฤษฎีสรรคนิยม
วิทยาการหุ่นยนต์
วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี
สื่อการสอน
หุ่นยนต์
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2555
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาชุดสื่อสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบบูรณาการตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา โดยมีวิธีดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ การศึกษาค้นคว้าข้อมูลพื้นฐาน การสร้างชุดสื่อ การทดลองใช้ชุดสื่อ และการประเมินผลและการปรับปรุงชุดสื่อ การดำเนินการดังกล่าวทำให้ได้ ชุดสื่อสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ และแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ โดยเครื่องมือดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตรศึกษา จำนวน 5 ท่าน พบว่า ชุดสื่อสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์สามารถผ่านการทดสอบการทำงานได้ทุกประเด็นการทดสอบ ชุดสื่อมีความเหมาะสมของการเป็นสื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามแนวทฤษฏีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกประเด็น และทุกองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมและ ความสอดคล้องกัน ในการนำชุดสื่อสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนตไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียน วัดราษฎรศรัทธา จังหวัดชลบุรี และมีความสนใจเรียนรู้ด้วยชุดสื่อการออกแบบและ สร้างหุ่นยนต จำนวน 30 คน ใช้ระยะเวลาทดลอง 2 วัน โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวทำการทดสอบก่อนและหลังการทดลองใช้ชุดสื่อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Dependent t-test และ One-sample t-test พบว่า ผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดสื่อสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนตหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 3.50 อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้การออกแบบและสร้างหุ่นยนต์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 3.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า ชุดสื่อสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ในการประเมินประสิทธิภาพของชุดสื่อ และสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2515
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
p144-159.pdf6.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น