กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/240
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวุฒิชาติ สุนทรสมัยth
dc.contributor.authorศรีหทัย ใหม่มงคลth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:47:21Z
dc.date.available2019-03-25T08:47:21Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/240
dc.description.abstractการศึกษาเรื่อง การบูรณาการข้อมูลงานวิจัย้เกี่ยวกับการจัดการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ คือเพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลตลอดจน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และบูรณาการงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตัณฑ์และการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประชากรที่สสนใจศึกษาในการวิจัยนี้ คือ งานวิจัยที่ได้พิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่มสมบูรณ์ในพ.ศ. 2544- 2548 เกี่ยวกับการจัดการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้พิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่มใน พ.ศ. 2538 - 2548 โดยวิธีการเลือกตัวอย่าง คือ งานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จำนาวน 31 เล่ม และการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 36 เล่ม ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกงานวิจัยด้วยแบบประเมินจาก ผู้เชี่ยวชาญและแบบบันทึกเนื้อหาและรายงานการวิจัย ผลการศึกษา สามารถสรุป ส่วนใหญ่ศึกษางานวิจัยการจัดการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มากที่สุดใน พ.ศ. 2547 เป็นปริญาตรีนิพนธ์/ วิทยานิพนธ์ระดีบปริญญาโท เนื้อหาที่ทำวิจัย คือการวิจัยและพัฒนาและการตลาดและการขาย มุ่งประเด็นที่ทำวิจัยคือ ด้านนโยบายและการวางแผน และกลยุทธ์การจัดการ ศึกษาที่ภาคกลาง ด้วยการวิจะยเชิงสำรวจศึกษาจากผู้ประกอบการ ไม่มีกการสุ่มตัวอย่างและไม่มีการตั้งสมมติฐานใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและสถิติเชิงพรรณนาที่ใช้คือ ค่าร้อยละ งานวิจัยด้านการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ศึกษาในพ.ศ. 2548 เป็นปริญญานิพนธ์/ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ศึกษาในเนื้อหาที่ทำวิจัย ด้านการวิจัยและพัฒนา และการจัดการทั้ว ๆ ไป มุ่งประเด็นที่ทำวิจัยคือ กลยุทธ์การจัดการ ศึกษาที่ภาคกลาง ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ ศึกษาจากผู้ประกอบการ ไม่มีการสุ่มตัวอย่างและไม่มีการตั้งสมติฐาน ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ การสังเคราะห์เชิงบูรณาการนี้จะพิจารณา 3 ประเด็น ได้แก่ การตั้งโจทย์การวิจัย การสร้างความเป็นเจ้าของงานและการวิจัยในฐานเครื่องมือการเรียนรู้ โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ผู้ประกอบการ การบริหารจัดการ และผู้มีส่วนได้เสีย ภายใต้เงื่อนไข 3 ระบบ ได้แก่ระบบการส่งเสริมของภาครัฐ ระบบการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และระบบการสร้างความสัมพันธ์แบบห่วงโซ่คุณค่า โดยมีสมติฐานว่าในอดีตเคยมีอยู่ ตี่อาจจะอ่อนแอไปด้วยเหตุผลต่าง ๆ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักวิจัยต้องเริ่มตั้งคำถามในแง่ต่าง ๆ ศักยภาพของผู้ประกอบการ ควรใช้โอกาสที่สำคัญของการพัฒนาผู้ประกอบการตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้มแข็งและรวมกันเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) หรือ เครื่อข่ายธุรกิจ และทำอย่างไรให้ปัจจัยภายนอกได้แก่ ความรู้ เทคโนโลยี และโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่ “คนนอก” พยายามนำเข้าไปใส่ให้ผู้ประกอบการในภูมิภาค สามารถสร้างให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อศักยภาพของผู้ปรพกอบการระดับภูมิภาค ที่อยู่บนฐานต่าง ๆ ทั้งฐานทรัพยากร ฐานเครื่อข่ายทางสังคม ฐานระบบความรู้ และฐานระบบคุณค่าและความเชื่อ หรือการพัฒนาเกิดจากกระบวนการสร้างแรงผลักดันและเติบโตจากภายใน ที่เป็นแสดงถึงความเป็น “เจ้าของ” งานพัฒนามากขึ้น และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้ประกอบการ โดยอาจจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับการวิจัยในฐานะเครื่องมือสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้มากขึ้น โดยหวังผลให้การวิจัยสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับท่าที ทัศนะ ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจหรือการสร้างวิธีคิดใหม่ของคนในภูมิภาคนั้น ผลการสังเคราะห์เนื้อหางานวิจัยยังพบจุดอ่อนที่สำคัญคือ ถึงแม้ภาครัฐจะได้กำหนดนโยบายช่วยสนับสนุนวิสาหกิจเหล่านั้นแล้วก็ตาม แต่ทางผู้ประกอบการวิสาหกิจหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่วนใหญ่ก็ยังขาดความรู้และทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการขาดความเข้าใจสภาพแวดล้อมด้านการจัดการที่ดีพอ ตลอดจนเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสมตามสภาพแวดล้อมทางการจัดการที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา จำเป็นต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างรู้จริงภายใต้สังคมแห่งฐานความรู้ (Knowledge-based Society) ทั้งนี้ข้อเสนอแนะการวิจัยเชิงบูรณาการได้แก่ การขยายเครือข่ายทางสังคมวิจัยและร่วมมือของนักวิชาการและผู้บริหารงานให้กว้างขึ้นซึ่งช่วยทำให้พลังในการพัฒนาการประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมระดับประเทศจากมาตรการส่งเสริมที่เข้มแข็งขึ้นด้วยนั่นเองth_TH
dc.description.sponsorshipทุนอุดหนุนการวิจัยโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติen
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการจัดการธุรกิจth_TH
dc.subjectการจัดการผลิตภัณฑ์ - - ไทยth_TH
dc.subjectธุรกิจชุมชนth_TH
dc.subjectสินค้าไทยth_TH
dc.subjectโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์th_TH
dc.titleการบูรณาการข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeIntegration of the research on one tambon one product (OTOP) and small and medium enterprises (SMEs) management in Thailanden
dc.typeResearch
dc.year2550
dc.description.abstractalternativeThe Integrated Study on the Management of One Tambon One Product (OTOP) and Small and Medium Enterprises (SMEs) Research in Thailand investigates and analyzes, synthesizes and integrates the management of One Tambon On Product (OTOP) and Small and Medium Enterprises (SMEs) Research conducted in Thailand. This study collected the secondary data :- full – text research publications from public, private library and the institutional information and database centers across the country. The 31 research works of OTOP management published during 2005 to and 36 research works of SMEs management published during 1995 to 2005 were collected through a structural designated from evaluated by experts. The instrument evidenced adequate validity and high reliability. The study found that most research works on management of OTOP as well as SMEs are in the forms of theses or independent studies with focusing on research and development type of research and aiming at the areas of policy and planning. According to the research process, these research works, were mainly studied a sample located in the central part of Thailand, stated that a survey research design, a sample of entrepreneur, questionnaire form, and descriptive statistics though a percentage were mostly performed with a selected or purposive sampling and no hypotheses testing. The synthesis though an integrated approach that addresses the various concerns of the entrepreneurs will declare the core concept of OTOP and SMEs management not only as an interchanging of 3 parts: problem definition, problem-based sense of belongings, and research as a tool for innovation learning but also as a enlightening 3 components:- entrepreneur, management, and the stakeholders with supported by government support system, the research development system, and the value creation and relationship through the supply chain management . Majority of existing research works are dealing with the traditional problem identifications which lead to study the weakness of the existing entrepreneurs. Instead of doing this, the entrepreneur’ s tremendous potential as a weapon in the fight against its competitors through the cluster and network development, efficiently external factor scanning, equitable distribution of knowledge and technology management, and dispersal of positive economical value creation from an “internal” growth and driven has in fact the OTOP and SMEs entrepreneurs to develop their own problem from the beginning of the problem discovery stage. It is heartening to note that these findings will not only serve as a venue for the inspiration of leaning process among OTOP and SMEs owners in a various industries in their experiences of implementing the policy and planning for promoting OTOP and SMEs products, but also as a change agent in the light s of creative thinking , competitive concerns, and globalization and liberalization considerations. Likewise, the synthesis recognized that local community development of entrepreneurs is not an easy issue, as they have limited human, capital and financial resources, innovation, and knowledge on environmental change and sophisticated management. It is essential that every effort from every key players: entrepreneurs themselves, suppliers, customers, community, media, government, and competitors through a master and comprehensive management plan address and agreed under the knowledge- based society that mutual cooperation among them is crucial to strengthen the network in order to implementing and sustaining their corporations at the regional and national level. Such a scheme in Thailand sought to drew upon the local knowledge and ingenuity of Thai villages, regions, and this goal, we have recommended the concept of integrated research approach on OTOP and SMEs management that would study in order for fostering the continuous development of local economy and global reach.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น