กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1403
ชื่อเรื่อง: ประวัติศาสตร์สังคมภูมิปัญญาท้องถิ่นอ่างศิลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Social history and local wisdom in Ang-sila.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภารดี มหาขันธ์
นันท์ชญา มหาขันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: ประวัติศาสตร์สังคม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สาขาปรัชญา
อ่างศิลา
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์สังคมท้องถิ่นอ่างศิลา 2) ศึกษาผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ภูมิปัญญาที่อ่างศิลา และ3) จัดการความรู้ดังกล่าวให้เป็นระบบ อยู่ในสภาพพร้อมใช้และ เข้าถึงได้ง่าย วิธีการวิจัยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า อ่างศิลาเริ่มปรากฏชื่อ และมีความสำคัญขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และทวีความสำคัญขึ้นหลังจากการทำสนธิสัญญาชุดเบาริ่ง กับประเทศอังกฤษ และประเทศอื่นๆ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2498 เป็นต้นมา อ่างศิลาคึกคักไปด้วยเรือสินค้าจากนานาประเทศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้กลางสะพานหินยื่นออกไปในทะเลจนพ้นเขตศิลาใต้น้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พ่อค้าวาณิช นอกจากนี้เสนาบดีกลาโหม และเจ้าคุณกรมท่ายังสร้าง “อาศรัยสถาน” เพื่อเป็นที่พักตากอากาศและพักฟื้นแก่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ 2 หลัง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสนาบดีกรมท่าได้มาสร้างค่ายหลวงที่อ่างศิลาเพื่อเป็นที่ประทับแรมในเวลาที่เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลตะวันออกในปีพ.ศ. 2419 โปรดเกล้าให้ยกฐานะอ่างศิลาขึ้นเป็นหัวเมืองปีพ.ศ. 2441 เปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอตามข้อบังคับลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 117 และเป็นตำบลในปีพ.ศ. 2443 ปีพ.ศ. 2495 ได้รับการจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลอ่างศิลา พ.ศ. 2542 เปลี่ยนฐานะเป็นเทศบาลตำบล และเป็นเทศบาลเมืองอ่างศิลาในปีพ.ศ. 2554 ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ภูมิปัญญาที่สำคัญของอ่างศิลาคือ “ผ้าทออ่างศิลา” และ “ครกหินอ่างศิลา”
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1403
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น