กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/134
ชื่อเรื่อง: การใช้ดัชนีวัดระดับความสุขในการทำงานของบุคลากร สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Happiness at work index of Burapha university's faculty of engineering personnel
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วนิดา สกุลรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การทำงาน
ความพอใจในการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง “การใช้ดัชนีวัดระดับความสุขในการทำงานของบุคลากร สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา” เป็นการวิจัยเชิงพรรณา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะต่อความสุขในการทำงาน ศึกษาดัชนีวัดระดับความสุขในการทำงาน ศึกษาระดับความสุขในการทำงาน เปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกันกับทัศนะต่อความสุขในการทำงานและระดับความสุขในการทำงาน และลำดับความสำคัญของปัจจัย/องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความสุขในการทำงาน ของบุคลากรสังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย สถิติ t-test และ F-test ณ ระดับนัยสำคัญสถิติที่ 0.05 สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุ 30-40 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาโท อายุการทำงาน ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 11-15 ปี มีรายได้ 10,000-30,000 บาทต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างมีทัศนะต่อความสุขในการทำงานในระดับปานกลาง ดัชนีวัดระดับความสุขที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความพึงพอใจ น้อยที่สุด คือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ระดับความสุขในการทำงาน ในภาพรวมทั้งองค์กร มีค่าเฉลี่ย 3.45 อยู่ในระดับปานกลาง การทดสอบสมมติฐาน พบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลของบุคลากร ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อายุการทำงาน ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ รายได้ต่อเดือน ไม่มีผลทัศนะต่อความสุขในการทำงาน และระดับความสุขในการทำงาน ลำดับความสำคัญของปัจจัย/องค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความสุขในการทำงานส่วนใหญ่เลือกด้านเงินเดือนและสวัสดิการเป็นลำดับที่ 1 และให้ความสำคัญกับด้านความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตด้านอื่นๆเป็นลำดับสุดท้าย ข้อเสนอแนะจาการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ มหาวิทยาลัยควรมีมาตรการในทางปฏิบัติโดยส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านบุคคลและแผนงาน ทำงานวิจัยสถาบันด้านบุคคล วัดระดับความสุขให้เห็นภาพรวมของมหาวิทยาลัย แล้วนำมาเป็นฐานข้อมูลจัดกิจกรรมพัฒนาปัจจัยแวดล้อมการทำงานให้เกิดการทำงานอย่างมีความสุข สำหรับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ควรนำผลการศึกษานี้ไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ โดยศึกษาทุก 1-2 ปี เพื่อเป็นฐานข้อมูลให้คณะผู้บริหารนำไปพิจารณา
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/134
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_092.pdf4.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น