กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1304
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของนิสิตวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Japanese Language Learning Strategies of Faculty of Humanities and Socila Sciences Burapha University Students majoring in Japanese Language
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปานเสก อาทรธุระสุข
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
คำสำคัญ: การเรียนรู้
ภาษาญี่ปุ่น
สาขาปรัชญา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของนิสิตวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์และปัญหาการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของนิสิตวิชาเอกภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย ประชากร คือ นิสิตชั้นปีที่ 4 วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2553-2556 รหัส 53-56 จำนวน 135 คน รวบรวมข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาญี่ปุ่นให้นิสิตกรอก จำนวน 135 ฉบับ และได้รับตอบกลับมาจำนวน 135 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 ของแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติแบบพรรณนา เพื่อบรรยายลักษณะของข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ T-Test และ One-way ANOVA ผลการวิจัย พบว่า การใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาญี่ปุ่น ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์ทางตรง (Direct Strategies) 1) กลยุทธ์การช่วยจำ (Memory Strategies) 2) กลยุทธ์ด้านความรู้ความคิด (Cognitive Strategies) 3) กลยุทธ์การทดแทน (Compensation Strategies) และกลยุทธ์ทางอ้อม (Indirect Strategies) 4) กลยุทธ์ที่นำไปสู่ความสำเร็จ (Metacognitive Strategies) 5) กลยุทธ์ทางอารมณ์และจิตใจ (Affective Strategies) 6) กลยุทธ์ทางสังคม (Social Strategies) ของนิสิตชั้นปีที่ 1-4 วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2553-2556 อยู่นระดับมาก ส่วนกลยุทธ์ที่นิสิตใช้มากที่สุดคือ กลยุทธ์การทดแทน รองลงมา คือ กลยุทธ์ที่นำไปสู่ความสำเร็จ ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของนิสิตอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาและอุปสรรคในการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นในระดับมาก คือ พูดเร็วฟังไม่ทันฟังไม่เข้าใจ รองลงมา คือ ฟังเข้าใจแต่โต้ตอบไม่ได้ นอกจากนี้ ผลการวิจัย ยังพบว่า ความสัมพันธ์ของเพศ ชั้นปี อายุ ประสบการณ์การเรียนภาษาญี่ปุ่นที่จะมาเรียนที่ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น สถานที่ที่เคยเรียนภาษาญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ของระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น (JLPT) กับกลยุทธ์การเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นของนิสิตไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ The purposes of this research were to study Japanese language learning strategies and problems of first-year to fourth-year students majoring in Japanese Language Faculty of Humanities and Social Sciences, Burapha University. The sample for the study were major Japanese language students Faculty of Humanities and Social Sciences Burapha University. Year 2010-2013 of 135 persons by questionnaire as a tool collect statistics. The questionnaire was adapted from the Oxford’s Strategies Inventory of Language Learning (SILL) to suit for Japanese language learning. This questionnaire consists of 6 categories: memory strategies, cognitive strategies, compensation strategies, metacognitive strategies, affective strategies and social strategies. The data was analyzed to find means, standard deviation, t-Test and one-way ANOVA The results showed that the students used all of strategies in high level. The most frequently used among the students was compensation strategies and followed by metacognitive strategies. Speaking too fast and it is hard to listen were the most problems for studying Japanese followed by understanding the conversation but cannot answer. The results of the study also indicated that the relation between gender, class level, age Japanese language study experience, Japanese language study school, The Japanese-Language Proficiency Test (JLPT) and students’ Japanese language learning strategies did not show significant difference on the use of strategies.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1304
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_080.pdf3.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น