กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1187
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorทวีชัย สำราญวานิช
dc.contributor.authorกิตติศักดิ์ นนทเขตขยัน
dc.contributor.authorภาณุมาศ ดวงสิทธิโชค
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:01:22Z
dc.date.available2019-03-25T09:01:22Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1187
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้มุ่งศึกษาคุณสมบัติเชิงกลซึ่งได้แก่ กำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง กำลังรับแรงดัด ค่ายังโมดูลัส อัตราส่วนปัวซองค์และพลังงานการแตกร้าวคอนกรีตที่ผสมไฟเบอร์เป็นสารผสมเพิ่ม รวมถึงศึกษากำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง กำลังรับแรงดัดของมอร์ต้าร์ผสมไฟเบอร์อีกด้วย สำหรับการศึกษากำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง กำลังแรงดัด และพลังงานการแตกร้าวของคอนกรีต ได้เตรียมคอนกรีตที่อัตราส่วนผสมต่างๆ กัน โดยมีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสา 0.55 และ 0.60 ค่าอัตราส่วนของปริมาตรเพสต์ต่อปริมาตรช่องว่าง 1.2 และ 1.4 ปริมาณไฟเบอร์ที่ใส่ในคอนกรีต 0.15% และ 0.2% โดยปริมาตรของคอนกรีต และมีไฟเบอร์ 3 ชนิดที่ศึกษาได้แก่ สตีลไฟเบอร์ อาคิลิกไฟเบอร์ และกลาสไฟเบอร์ ทำการทดสอบที่อายุ 3, 7, 28 และ 91 วัน ส่วนการศึกษาค่ายังโมดูลัสและอัตราส่วนปัวซองค์ของคอนกรีตทำการทดสอบที่อายุ 28 และ 91 วัน จากผลการทดลองพบว่า กำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง กำลังรับแรงดัด และพลังงานการแตกร้าวของคอนกรีตทุกอัตราส่วนผสม มีค่าสูงขึ้นเมื่ออายุของคอนกรีตมากขึ้น และเมื่อปริมาณไฟเบอร์สูงขึ้นจะทำให้ค่ากำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง กำลังรับแรงดัด และพลังงานการแตกร้าวของคอนกรีต เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ทั้งนี้กำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง กำลังรับแรงดัดและพลังงานการแตกร้าวของคอนกรีตที่ผสมอาคิลิกไฟเบอร์ และกลาสไฟเบอร์เป็นสารผสมเพิ่มมีค่าใกล้เคียงกัน ส่วนคอนกรีตที่ผสมสตีลไฟเบอร์เป็นสารผสมเพิ่มมีค่ามากที่สุด และมีค่าศุงกว่าอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานที่เท่ากัน และในปริมาณเท่ากันสำหรับค่ากำลังรับแรงอัด กำลังรับแรงดึง กำลังรับแรงดัดของมอร์ต้าร์ผสมไฟเบอร์มีแนวโน้มเช่นเดียวกับคอนกรีตth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectคุณสมบัติเชิงกลth_TH
dc.subjectสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัยth_TH
dc.titleการศึกษาคุณสมบัติเชิงกลของคอนกรีตและมอร์ต้าร์ที่ผสมไฟเบอร์th_TH
dc.title.alternativeA study of mechanical properties of concrete and mortar with fibersen
dc.typeResearch
dc.year2549
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research is to study the mechanical properties which are modulus of elasticity, Poisson’s ration, flexural strength and fracture energy of concrete with fibers. Furthermore, the compressive strength, tensile strength, flexural strength of mortar with fibers was also studied. For the study of compressive strength, tensile strength, flexural strength and fracture energy of concrete, various mix proportions of concrete were prepared. The water to binder ratios of concrete were 0.55 and 0.60. The ratios of paste volume to void volume were 1.2 and 1.4 The fiber contents in concrete were 0.1% and 0.2% and there were steel fiber, acrylic fiber and glass fiber used in this study. These mechanical properties of concrete were determined at 3, 7, 28 and 91 days. For the study of modulus : of elasticity and Poisson’s ratio of concrete, These were investigated only at 28 and 91 days. From the experimental results, it was found that the compressive strength, tensile strength, flexural strength and fracture energy of all concrete mixtures increase with the increase of curing time and the fiber content. It is also found that the compressive strength, tensile strength, and fracture energy of concrete with acrylic fiber and glass fiber was not different. But for concrete with steel fiber, these properties of concrete were higher when water to binder ratios and fiber content was kept constantly. For the compressive strength, tensile strength and flexural strength of mortar with fiber, these properties had the same tendency as the concrete thefiberen
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น