กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1158
ชื่อเรื่อง: โครงการเตาเผาข้าวหลามต้นแบบโดยใช้วัสดุชีวมวลเหลือทิ้งเป็นเชื้อเพลิง.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาวิณี ศักดิ์สุนทรศิริ
ภัคพงศ์ จันทเปรมจิตต์
บรรพต ชมภูเพชร
ฤกษ์ชัย วนิชประภาพร
วรรณพล พิทักษ์สมบัติ
เอกชัย สิทธิชู
ณพฤกษ์ สุเนตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การถ่ายเทความร้อน
เชื้อเพลิงชีวมวล
เตาเผา
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันการผลิตข้าวหลามหนองมนมี 2 แบบ คือการเผาแบบดั้งเดิมเป็นการเผาโดยการขุดหลุมเผาบนพื้นซึ่งต้องการพื้นที่ในการเผามากแต่ให้กลิ่นของข้าวหลามแบบดั้งเดิม และการเผาโดยใช้ก๊าซหุงต้มเป็นการเผาในเตาที่ใช้พื้นที่ไม่มากและสะดวก แต่ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงและกลิ่นของข้าวหลามจะด้อยกว่าแบบดั้งเดิม ดังนั้นจึงมีการนำข้อดีของการเผาทั้ง 2 แบบมารวมกันและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น โดยการสร้างเตาเผาข้าวหลามต้นแบบโดยใช้วัสดุชีวมวลเหลือทิ้งเป็นเชื้อเพลิงเพื่อพัฒนาการเผาข้าวหลามด้วยเชื้อเพลิงที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยลดเวลาและปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิต ทั้งยังสามารถรักษารสชาติและกลิ่นแบบเดิมไว้ได้ จากการทดลองเผาข้าวหลามด้วยเตาเผาโดยใช้เชื้อเพลิงชีวมวล จำพวก ไม้ กาบมะพร้าว และกะลามะพร้าวมาเป็นเชื้อเพลิง พบว่า อุณหภูมิที่ใช้ในการเผาข้าวหลามระหว่าง 200 – 250 •C จะทำให้ข้าวหลามจำนวน 160 กระบอก (15 ลิตร) สุกภายในเวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที ซึ่งจะเร็วกว่าการเผาแบบดั้งเดิม และแบบใช้ก๊าซหุงต้มถึง 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยใช้เชื้อเพลิงเพียง 28 kg. ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเผาแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้เชื้อเพลิง 60 – 80 kg. ต่อการเผาข้าวหลามในปริมาณที่เท่ากัน และใช้พื้นที่ในการเผาเท่ากับการเผาโดยใช้ก๊าซหุงต้ม ปริมาณความร้อนที่ให้ข้าวหลามถึง 39.53% ซึ่งจะเสียไปกับปริมาณความร้อนสูญเสียของไอเสีย ประตูและผนังเตา และการแผ่รังสีมีค่าเท่ากับ 47.51% 11.31% 1.65% ตามลำดับ ในขณะที่การเผาแบบดั้งเดิมให้ปริมาณความร้อนที่ให้กับข้าวหลามเพียง 18.97% โดยจุดคุ้มทุนของเตาเผาข้าวหลามต้นแบบโดยใช้วัสดุชีวมวลเหลือทิ้งเป็นเชื้อเพลิงจะเร็วกว่าเตาเผาข้าวหลามโดยใช้ก๊าซหุงต้ม There are two methods to produces “KAOW -LARM”, sticky rice in bamboo, of Nongmon area. The original baking, firing on ground, require large area and a lot of biomass fuel. However, this method provides a classical smell of the product. The second method uses LPG fuel which require smaller space but higher investment and the product smell is different from the classical one. By combining and improving the advantages of these two methods, the waste biomass fuel “KAOW-LARM" baking kiln has been developed. The efficiency is improved by reduction in time, and amount of fuel consumption whereas the taste and classical smell are preserved. Experimental result of KAOW-LARM baking using biomass fuel such as wood, coconut husk, and coconut shell in the prototype kiln indicating that the baking temperature between 200 - 250 °c would make the 160 KAOW-LARM (15 lites) ripen by one hour and twenty minutes. This is about one hour and thirty minutes faster them the original baking and LPG gas by using only 28 kg fuel which rather small comparing to 60-80 kg fuel in the original baking for the same amount of KAOW-LARM and the co same area used by LPG method. The quantity of heat of the KAOW-LARM baking biomass fuel had given product 39.53% whit heat losses of fuel gas door wall and radiation are 47.57% , 11.31% , 1.65% respectively, which the original baking had given to product 18.97% . Therefore, the pay back period of the original baking using a waste biomass fuel is shorten than LPG gas KAOW-LARM baking.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1158
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น