กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10268
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการออกแบบเพื่อตราสินค้าไลฟ์สไตล์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Development of Lifestyle Brand Design Formats
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลชนก เศรษฐบุตร
คำสำคัญ: ตราสัญลักษณ์ - - การออกแบบ
การจัดการผลิตภัณฑ์ - - การตลาด
ผลิตภัณฑ์ใหม่ - - การจัดการ
การตลาด
ผลิตภัณฑ์ใหม่
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการออกแบบตราสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ประสบความสําเร็จ ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพจากการวิเคราะห์เนื้อหา โดยถอดบทเรียนจากตราสินค้าไลฟ์สไตล์ในต่างประเทศ จากนั้นทําการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคลจากประชากรไทยจํานวน 12 คน ที่มีส่วนร่วมในการออกแบบตราสินค้าไลฟ์สไตล์ไทยซึ่งประสบความสําเร็จทั้งด้านรางวัลและยอดขาย แล้วจึงทดสอบแนวคิดรูปแบบการออกแบบตราสินค้าไลฟ์สไตล์ด้วยการสนทนากลุ่มจากผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักออกแบบ, นักการตลาด, ผู้บริหาร, ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตราสินค้าและนักนิเทศศาสตร์ จํานวน 48 คน ผลการวิเคราะห์พบว่าผู้รับผิดชอบตราสินค้าไลฟสไตล์ที่ถูกคัดเลือกมาในต่างประเทศนํา กระบวนการคิดเชิงออกแบบและกิจกรรมด้านการออกแบบไปผนวกเข้ากับกลยุทธ์ของการบริหารธุรกิจในระดับโครงสร้าง ในขณะที่ประเทศไทยยังแค่นําไปอยู่ในกระบวนการทํางานเท่านั้น ในต่างประเทศมีการฝากให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องคิดอย่างนักออกแบบ แต่ประเทศไทยยังไม่ได้ให้ความสําคัญกับการคิดอย่างนักออกแบบกับทุกคน นักออกแบบในต่างประเทศมีส่วนร่วมตั้งแต่ช่วงต้นของกระบวนการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยในประเทศไทยนักออกแบบรับผิดชอบเฉพาะช่วงท้าย ทั้งนี้ กระบวนการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติสําคัญน้อยที่สุดที่สามารถซื้อขายได้เป็นเรื่องที่ทําได้ยากสําหรับองค์กรทั้งต่างประเทศและในประเทศ และการสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรผ่านช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์เป็นวิธีการที่ถูกนํามาใช้อย่างคล้ายคลึงกัน องค์กรควรใช้การออกแบบเพื่อกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ในการคิดเชิงนักออกแบบนั้นควรเปลี่ยนเป็นการคิดไปข้างหน้า นักออกแบบควรมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยนํากระบวนการผลิตภัณฑืที่มีคุณสมบัติ สําคัญน้อยที่สุดที่สามารถซื้อขายได้มาใช้เฉพาะในผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม และควรสื่อสารการตลาดแบบครบวงจรด้วยสื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์โดยสร์างให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์กับตราสินค้า
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณรายได้มหาวิทยาลัยเงินรายได้ส่วนงาน มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10268
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_059.pdf1.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น