กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10235
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการจัดการนวัตกรรมและความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cusl fctors influencing of innovtion mngement nd competitive dvntge of group next-genertion utomotive industry in estern thilnd specil development zone in thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นุจรี ภาคาสัตย์
วีณา กรแก้ว
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
การบริหารงานบุคคล
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพัฒนาองค์การและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการจัดการนวัตกรรมที่ส่งอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กรในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิจัยแบบผสานวิธีได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้บริหารที่ปฏิบัติหน้าที่ภายในบริษัทในกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน จำนวน 312 คน ด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โมเดล สมการโครงสร้าง และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้บริหารบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนที่ได้รับรางวัลและมีชื่อเสียง จำนวน 3 คน และตัวแทนภาครัฐที่เกี่ยวเชิงนโยบาย คือ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานของจังหวัดในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1)โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการจัดการนวัตกรรมที่มีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันขององค์กรในอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ 2) ความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี แสดงให้เห็นว่าสามารถไปประยุกต์ใช้ได้จริง ( 2 ) เท่ากับ 223.84 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 193 ค่า P-value เท่ากับ 0.063 ค่าไค-สแควร์สัมพันธ์ ( 2 / df) เท่ากับ 1.159 ค่า GFI เท่ากับ 0.943 และค่า AGFI เท่ากับ 0.912 ค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.023 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถร่วมอธิบายการจัดการนวัตกรรม ความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ร้อยละ 98.30 และ 94.20 ยังพบว่า 3) แนวทางการจัดการนวัตกรรม พบว่า ปัจจัยทุกตัวส่งผลต่อการจัดการนวัตกรรมซึ่งเป็นปัจจัยภายในองค์กร เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและการพัฒนา อย่างยั่งยืน ผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนสมัยใหม่/ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชิงนโยบายต้องบูรณาการความร่วมมือที่ชัดเจน ปัจจัยภายนอก คือ นโยบายภาครัฐและการมุ่งเน้นทางการตลาด
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10235
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58870071.pdf9.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น