กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10234
ชื่อเรื่อง: การศึกษารูปแบบการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 3 (นวัตกรรมและมูลค่าสูง) เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of secondry school devleopment model using the sufficiency economy philosophy step 3 (innovtion nd highvlue) for locl development in thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทักษญา สง่าโยธิน
จำรูญ กสิวัตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาและนำเสนอผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 3 (นวัตกรรมและมูลค่าสูง) ไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในระดับโรงเรียนมัธยมศึกษาและเพื่อนำผลจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 3 ไปพัฒนาท้องถิ่นในประเทศไทย ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพเทคนิคเดลฟายกับ 17 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญผู้เรียนหลักสูตร นพย.1 นำเสนอผลการค้นพบแนวทางการสร้างนวัตกรรมในโรงเรียนตามการพัฒนาการเรียนการสอนของโรงเรียนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 3 ประกอบด้วย 1) เงื่อนไขความรู้ พบว่ามี 5 ข้อกิจกรรมที่โรงเรียนที่มีนวัตกรรมจะต้องมีการพัฒนา 2) เงื่อนไขคุณธรรม มี 12 ข้อปฏิบัติตามหลักเงื่อนไขคุณธรรมของโรงเรียนที่มีสินค้าหรือกิจกรรมที่เรียกรับค่าบริการได้ และที่มีนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง 3) ความมีเหตุผล พบ 13 แนวทางหลักในการดำเนินกิจกรรมที่ผู้บริหารและครูใช้ในการสร้างนวัตกรรมสินค้าและบริการของโรงเรียน 4) มีภูมิคุ้มกันที่ดี พบ 15 กิจกรรมที่เป็นแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำเนินกิจกรรมให้เกิดการเรียนการสอนที่ดี การมีสินค้าและกิจกรรมที่เรียกรับค่าบริการได้ของโรงเรียน มีความมุ่งหวังให้นักเรียนได้ฝึกคิด ฝึกอาชีพ พัฒนาทักษะทั้งการงานและอาชีพ โดยผ่านนวัตกรรมการศึกษาและกิจกรรมที่มีนวัตกรรม และ 5) ความพอประมาณ พบ 8 แนวทางการพิจารณาความพอประมาณในการจัดการสินค้าและกิจกรรมนวัตกรรมที่โรงเรียนควรจะมี ส่วนในวัตถุประสงค์ที่ 2 แนวทางการพัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษาและท้องถิ่นตามแนวทางตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 3 พบว่า 1) ลักษณะกิจกรรมอาชีพที่สัมผัสหรือรับรู้ถึงนวัตกรรมสินค้า/กิจกรรมที่เรียกเก็บค่าบริการของโรงเรียนมี 11 ลักษณะ และ 2) พบว่ามี 10 เกณฑ์การประเมินผลประสิทธิผลด้านการดำเนินการนวัตกรรมในโรงเรียน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10234
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58870031.pdf10.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น