กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10216
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานนอกระบบ : กรณีศึกษากลุ่มผ้ประกอบอาชีพแปรรูปปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of prticiptory injury prevention model to improve sfety behviors mong informl workers : cse study of snkeskins gourmi fish processor, smutprkrn province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
สุรวิทย์ นันตะพร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: แรงงานนอกระบบ
การบาดเจ็บ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพแปรรูปปลาสลิดบางบ่อโดยการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 สร้างรูปแบบขึ้นจากการศึกษาและทบทวน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการได้รับบาดเจ็บ จากการทำงานและทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างนำร่อง จำนวน 30 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับแรงงานนอกระบบซึ่งได้จากการศึกษาระยะที่ 1 โดยใช้วิธีการศึกษาแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบทั้งหมด 12 สัปดาห์ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 82 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 41 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงวัดผลคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยจากการตอบแบบสอบถามพฤติกรรมความปลอดภัยทุก ๆ 2 สัปดาห์ตั้งแต่ก่อนจนถึงสิ้นสุดการทดลองใช้รูปแบบ (7 ครั้ง) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป ข้อมูลพฤติกรรมความปลอดภัยและใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยในกลุ่มทดลองช่วงก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบในสัปดาห์ที่ 2 ถึง สัปดาห์ที่ 12 โดยใช้สถิติ Repeated measure ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมช่วงก่อนทดลองใช้รูปแบบ โดยใช้สถิติ Independent sample t - test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และช่วงหลังทดลองใช้รูปแบบใช้สถิติ Man Whitney U - test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยประสบอุบัติเหตุจากการทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ56.10 ส่วนใหญ่โดนวัตถุ/ สิ่งของมีคม ตัด/บาด/ทิ่มแทง ร้อยละ 45.10 มีลักษณะเป็นบาดแผลที่บริเวณนิ้วมือ ร้อยละ 39.00 ผลจากการสร้างรูปแบบในการศึกษาระยะที่ 1 ทำให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมต่อการนำไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง คือ รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบ ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ (1) การชี้บ่งอันตราย (2) การให้ความรู้ (3) การติดตามและสังเกตพฤติกรรม (4) การสร้างแรงกระตุ้น และ (5) การสร้างการมีส่วนร่วม และเมื่อนำรูปแบบไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า หลังทดลองใช้รูปแบบทุกช่วงสัปดาห์มีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยเพิ่มขึ้นสูงกว่าช่วงก่อนทดลองใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.001) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า หลังทดลองใช้รูปแบบในสัปดาห์ที่ 4, 6, 8, 10 และ 12 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยเพิ่มขึ้นสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.001) แสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นทำให้พฤติกรรมความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพแปรรูปปลาสลิดบางบ่อดีขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพในชุมชนสามารถนำรูปแบบไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานให้กับแรงงานนอกระบบในชุมชนเพื่อนำไปสู่การลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงานต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10216
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61810011.pdf5.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น