กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10194
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิตจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Acceptnce of electronic conferencing technology mong employees in the mnufcturing industry, chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรัญยา แสงลิ้มสุวรรณ
พรรัตน์ แสดงหาญ
ธนษา ธนเดชะวัฒน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจการใช้งานการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านแพลตฟอร์มของผู้ปฏิบัติงาน 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการยอมรับเทคโนโลยีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงาน 3) พัฒนาแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการยอมรับเทคโนโลยีการประชุมผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดชลบุรี 4) ตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการยอมรับเทคโนโลยีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดชลบุรีที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดชลบุรีที่ใช้การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการทำงาน จำนวน 371 คน โดยใช้สถิติในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้แพลตฟอร์ม Microsoft teams 2) องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปรแฝงภายในและตัวแปรภายนอกของแบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุในการยอมรับเทคโนโลยีการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมการผลิต จังหวัดชลบุรีที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และ 4) ตัวแปรสาเหตุที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อตัวแปร พฤติกรรมการใช้งานจริง ได้แก่ ความตั้งใจในการแสดงพฤติกรรม รองลงมาคือการรับรู้ถึงความง่ายการรับรู้ถึงประโยชน์ทัศนคติต่อการใช้งาน และปัจจัยภายนอก ตามลำดับ ซึ่งตัวแปรเชิงสาเหตุในแบบจำลองสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการใช้งานจริงได้ร้อยละ 31.7
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10194
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
62920148.pdf3.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น