กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10128
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การกำหนดราคาด้วยข้อมูลต้นทุนระบบฐานกิจกรรมร่วมกับการคำนวณมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Product pricing strtegy by using ctivity- bsed costing (bc) nd economic vlue dded (ev) s integrted tool
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เนตรดาว ชัยเขต
สุญภัคจิรา มณีสิริตาภรณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
คำสำคัญ: มูลค่าเพิ่ม
ต้นทุนการผลิต
มหาวิทยาลัยบูรพา -- คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมในการคำนวณต้นทุนผลิตภัณฑ์ วิเคราะห์การประยุกต์ใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมร่วมกับการคำนวณมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจในการประเมินผลการดำเนินงาน และวิเคราะห์การกำหนดราคาขายจากข้อมูลการใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมร่วมกับระบบมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจโดยใช้กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผลิตภัณฑ์ จำนวน 8 ผลิตภัณฑ์ที่มียอดขายลดลงอย่างมีนัยสำคัญเก็บรวมรวบข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิจากการสัมภาษณ์หัวหน้าแผนก จำนวน 8 แผนกและจากงบการเงินและรายงานการผลิตของบริษัทย้อนหลัง 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง ปี พ.ศ. 2561 จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการกำหนดตัวผลักดันต้นทุน และจัดสรรต้นทุนและค่าใช้จ่ายดำเนินงานเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีต้นทุนฐานกิจกรรม (ABC) ร่วมกับการคำนวณต้นทุนเงินทุนจากแนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (EVA) และนำข้อมูลต้นทุนดังกล่าวไปใช้ในการวิเคราะห์ราคาขาย ผลการวิจัย พบว่า ต้นทุนการผลิตที่คำนวณด้วยระบบต้นทุนฐานกิจกรรม จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ มีต้นทุนสูงกวก่าต้นทุนเดิม และอีก 4 ผลิตภัณฑ์มีต้นทุนต่ำกว่าต้นทุนเดิม และเมื่อใช้ระบบต้นทุนฐานกิจกรรมร่วมกับระบบมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ พบว่า กำไรต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ จำนวน 7 ผลิตภัณฑ์ มีกำ ไรลดลงหรือมีกำไรที่ติดลบมากขึ้น มีเพียง 1 ผลิตภัณฑ์ที่กำไรต่อหน่วยสูงขึ้น เมื่อเทียบกับวิธีการคำนวณกำไรแบบเดิม ผลการนำต้นทุนการผลิตจากวิธีต้นทุนฐานกิจกรรมร่วมกับการคำนวณมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจไปวิเคราะห์ในการกำหนดราคาขายโดยวิธี Cost-Based Pricing 10% พบว่า การใช้ต้นทุนเดิมในการกำ หนดราคาขายจะส่งผลให้ราคาขายต่ำไป จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ และราคาขายสูงไป จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลให้การตั้งราคาขายไม่บรรลุกำไรตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และอาจส่งผลให้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10128
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920017.pdf4.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น