DSpace Repository

การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author วิณี ชิดเชิดวงศ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:45:46Z
dc.date.available 2019-03-25T08:45:46Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/84
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตาม เพศ สายวิชาที่เรียน และชั้นปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2544 จำนวน 610 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณะสุข จำนวน 52 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบทางเดียว(One Way ANOVA) และ t-test การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ แบบ q-statistic ของนิวแมน คูลล์ (Newman-Keuls) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1. นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีองค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี(ควบคุมตนเอง, เห็นใจผู้อื่น, รับผิดชอบ) ด้านเก่ง(มีแรงจูงใจ, ตัดสินและแก้ปัญหา, สัมพันธภาพ) และด้านสุข(ภูมิใจตนเอง, พอใจชีวิต, สุขสงบทางใจ) มีคะแนนอยู่ในช่วงเกณฑ์คะแนนปกติ และสูงกว่าเกณฑ์ปกติ 2. นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ เพศชาย และเพศหญิง มีองค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ สายศิลปศาสตร์ และสายวิทยาศาสตร์ มีองค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี ด้านเก่ง และด้านสุข แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. นิสิตคณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปี ต่างกัน มีองค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purpose of this research ws to determine and compare emotional quotient(EQ) of the student the Faculty of Education Burapha University by variables of sex, program of study and year class. The sample in this study composed of 610 students. The instrument was the Emotional Quotient questionnaire form of the Mental Health Department Ministy of Public Health. The data was analyzed by means of arithmetic mean, standard deviation, t-test, F-test and q-statistic of Newman -keuls. Results The major founding of this study were as follows: 1. The student the Faculty of Education, Burapha University showed emotional quotient in average level. They had above average scores in the categories : good, excellence and happiness. 2. Emotional Quotient of the students at the Faculty between sex were found insignificantly different. 3. Emotional Quotient of the students at the Faculty with different study program were found insignificantly different 4. Emotional Quotient of the students at the Faculty with different year class were found significantly different at .05 level. th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความฉลาดทางอารมณ์ th_TH
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ - - นักศึกษา th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.title.alternative A study of students emotional quotient (EQ) at Faculty of Education Burapha Univetsity en
dc.type Research th_TH
dc.year 2545


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account